โรคกระเพาะอาหาร มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารโดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา เพราะเป็นชั่วโมงที่เร่งรีบ ทำให้เจ็บป่วยเนื่องมาจากพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลจากโรคกระเพาะได้เป็นอย่างดี
โรคกระเพาะอาหาร
สำหรับโรคแผลกระเพาะอาหารหรือที่คนโดยทั่วมักเรียกกันว่าโรคกระเพาะอาหารนั้น หมายถึงแผลที่เกิดในเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีอาการปวดท้อง มีที่มาจากกรดในกระเพาะอาหารมาก ซึ่งทำให้ระคายเคืองจนส่งผลเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และในหลายกรณีไม่ได้ปวดตลอดเวลา จะมีการเป็น ๆ หาย ๆ ก่อนและหลังเวลาอาหาร อาการปวดท้องจะทุเลาหากได้รับประทานอาหาร ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง เพราะหากละเลยอาการจนในที่สุดจากอาการปวดท้องเพราะกรดในกระเพาะอาหาร อาจมีภาวะแทรกซ้อนเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะลำไส้เป็นแผลทะลุ เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
เกิดจากหลายสาเหตุ โดยอาจแบ่งออกได้เป็น 3 สาเหตุหลัก ดังนี้
- การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด อารมณ์แปรปรวน การดื่มแอลกอฮอลล์ ชา กาแฟ และสูบบุหรี่เป็นประจำ
- เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย เกิดได้จาก ยาแก้ปวด ลดไข้บางชนิดที่อาจส่งผลระคายกระเพาะอาหาร การกินอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรือกินอาหารไม่เป็นเวลา
- ติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori (Helicobactor Pylori) เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนต้น และปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ผู้ที่ติดเชื้อจะมีโอกาสเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นเพิ่มขึ้น 6-40 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีการติดเชื้อ และมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น 2-6 เท่า
- หากผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหาร เช่น ทานอาหารตรงเวลาสม่ำเสมอ แต่กลับเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรังให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเกิดจากสาเหตุที่ 3 คือติดเชื้อ H.pylori ให้เข้าพบแพทย์ทันที ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาฆ่าเชื้อ แต่อาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา ทำให้รักษาไม่หายขาด
อาการของโรคกระเพาะ
- ปวดท้องลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือแผลกระเพาะอาหาร
- ปวดบริเวณลิ้มปี ปวดแบบแสบ ๆหรือร้อน ๆ ปวดเรื้อรังมานาน เป็น ๆ หาย ๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี
- ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวดบางรายจะปวดหลังจากกินอาหาร หรือนมจะหายปวดบางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรืออาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
- จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
- อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่
- อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
- ปวดท้องรุนแรง และ ช็อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารทะลุหรือลำไส้เล็กทะลุ
- ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
- อาการของโรคจะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค บางรายไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีแผลใหญ่มากในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ บางรายปวดท้องมากแต่ไม่มีแผลเลยก็ได้
ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์
- ปวดท้องทันทีปวดเหมือนถูกมีดบาดขยับตัวหรือหายใจแรง ๆจะทำให้ปวดเพิ่มมากขึ้น และปวดไม่หายซึ่งอาจจะเกิดจากกระเพาะอาหารทะลุ
- อุจจาระดำหรืออาเจียนเป็นเลือดเนื่องจากเลือดออกทางเดินอาหาร
- แน่นท้องอาเจียนบ่อยเป็นอาหารที่รับประทานเข้าไปซึ่งอาจจะเกิดจากลำไส้อุดตัน
วิธีการรักษา ทำอย่างไร
- กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่
- กินอาหารให้เป็นเวลา
- งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
- งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง
- งดดื่มน้ำชา กาแฟ
- งดสูบบุหรี่
- งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร
- พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด
- หยุดยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS
- การให้ยารักษา
โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลาที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะลดยาหรือหยุดยาวได้
- การผ่าตัด
ซึ่งในปัจจุบัน มียาที่รักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างดีจำนวนมากถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดอาจทำให้เป็นกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่
- เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยไม่สามารถทำให้หยุดเลือดออกได้
- แผลกระเพาะอาหารทะลุและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ
- กระเพาะอาหารมีการอุดตัน