อาการโรคเครียดลงกระเพาะ

หากคุณมีอาการเครียดแล้วทำให้หัวใจเต้นแรงผิดปกติ หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อมีอาการเกร็ง ปากแห้ง และยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้การทำงานของกระเพาะอาหาร และลำไส้หยุดชะงักลง นั่นแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะของ อาการโรคเครียดลงกระเพาะ Liposuction

อาการโรคเครียดลงกระเพาะ

โรคเครียดลงกระเพาะ เกิดจาก

เกิดจากการที่เรามีความเครียดมากจนส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความแปรปรวนและเส้นเลือดบีบตัวทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เป็นผลให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติจนทำให้กระเพาะเป็นแผลและลำไส้บีบตัวอย่างรุนแรงนั่นเอง

อาการของโรคเครียดลงกระเพาะ

  • ถ่ายอุจจาระผิดปกติ ซึ่งบางคนอาจถ่ายมากกว่าวันละ 3 ครั้ง และบางคนอาจถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • มักจะรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่สุดอยู่เสมอและอาจต้องเบ่งถ่ายมากกว่าปกติ
  • คลื่นไส้อาเจียนทุกครั้งหลังจากรับประทานอาหาร
  • ปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่และอาจมีอาการท้องอืด มวนท้องร่วมด้วย

บทความแนะนำ ราคาดูดไขมัน เขาคิดกันยังไง? หาคำตอบกับ Rattinan.com กันครับ

วิธีรับมือกับความเครียดลงกระเพาะ

  • ฝึกสมาธิและการหายใจทำได้โดยนั่งในท่าที่รู้สึกสบายและหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ
  • ระบายความรู้สึกให้ใครสักคนฟัง เพราะการได้ระบาย จะทำให้รู้สึกสบายใจและช่วยคลายความเครียดได้
  • การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟินออกมามากขึ้น ซึ่งจะช่วยคลายความเครียดและบรรเทาอาการของโรคเครียดลงกระเพาะได้อย่างดีเยี่ยม
  • พยายามหากิจกรรมทำ เพื่อผ่อนคลายความเครียด
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารขยะ อาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร
  • การสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นการรับมือกับความเครียดที่ผิดวิธี เพราะจะยิ่งส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร
  • ไม่ทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อน
ความเครียดส่งผลต่อระบบย่อยอาหารอย่างไร
  • กล้ามเนื้อหลอดอาหารหดเกร็งและมีกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น จึงนำไปสู่อาการอาหารไม่ย่อย
  • เมื่อระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีจะมีอาการแสบร้อนกลางอกและกรดไหลย้อน
  • ระบบภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • หลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยน้อยลง จึงส่งผลให้มีภาวะท้องอืดอาหารไม่ย่อย
  • เกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูก เนื่องจากลำไส้ใหญ่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้น
  • มีแบคทีเรียชนิดไม่ดีเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าแบคทีเรียชนิดที่ดี ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี

อาการโรคเครียดลงกระเพาะ เกิดจากสาเหตุใด

เมื่อท่านได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคนี้ แพทย์จะแนะนำให้ท่านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ซึ่งจะหมายถึง เมื่อท่านรับประทานอาหารเวลาไหนก็ควรรับประทานเวลานั้นทุกวัน
  • ต้องเลือกชนิดของอาหาร เพราะอาหารบางชนิดจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น อาหารที่มีรสจัดที่มีรสเผ็ด จะทำให้เกิดอาการแสบท้องหรือปวดท้องได้ ในส่วนของอาหารมันนั้นจะทำให้เกิดอาการจุกและแน่นท้องได้ และพยายามหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน
วิธีรักษาโรคกระเพาะด้วยสมุนไพร
  • น้ำไชเท้า สรรพคุณของหัวไชเท้า คือ ช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร วิธีรับประทานให้นำให้นำหัวไชเท้าไปคั้น กรองเอาแต่น้ำ ดื่มก่อนนอนคืนละ 1 แก้วเป๊ก
  • กล้วยน้ำว้า ที่มีสรรพคุณในการช่วยรักษาโรคกระเพาะได้ โดยใช้กล้วยน้ำว้าดิบ นำมาตากแห้ง หรือนำไปอบ จากนั้นมาบดให้เป็นผง นำไปชงน้ำดื่ม ช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะ
  • ลูกยอ มีสรรพคุณช่วยลดอาหารอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร และช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร หลายคนมักรับประทานน้ำลูกยอ ร่วมกับขมิ้นชัน เพื่อการออกฤทธิ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น
  • ขมิ้นชันสามารถช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อน โรคกระเพาะ และช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้เป็นอย่างดี
  • มะขามป้อมมีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดกรดเกินในกระเพาะอาหาร วิธีรับประทานมะขามป้อมรักษาโรคกระเพาะให้กินผงลูกมะขามป้อมวันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารและก่อนนอน
  • สารแทนนินในฝรั่งสามารถยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้
  • ยางจากหัวปลียังมีฤทธิ์ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร โดยวิธีรับประทานให้นำปลีกล้วยน้ำว้ามาเผา แล้วบีบเอาแต่น้ำ กะให้ได้ประมาณครึ่งแก้ว ดื่มก่อนอาหาร
  • กระเจี๊ยบเขียว มีฤทธิ์ยับยั้งความสามารถของเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลริ (Helicobacter pylori) ในการเกาะเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร วิธีใช้ให้นำฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียวหั่นตากแดด บดให้ละเอียด กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ โดยนำมาละลายในน้ำ นม น้ำผลไม้ หรืออาหารอ่อน ๆ กินวันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร
  • ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี โดยวิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุดของต้นก่อน นำมาล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออกจากนั้นขูดเอาวุ้นใสมารับประทานวันละ 2 ครั้ง

บทสรุป

โรคเครียดลงกระเพาะ เป็นเพียงแค่อาการหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความเครียด ดังนั้นจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงความเครียด ด้วยการปล่อยวางความเครียดให้ได้มากที่สุด พยายามหากิจกรรมทำ เพื่อจะได้ช่วยผ่อนคลาย ดูดไขมัน ประกอบกับการรับประทานสมุนไพรที่มีประโยชน์ เพื่อบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเอง

ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น