อาการโรคกระเพาะลำไส้อักเสบ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยมากกว่าโรคลำไส้อักเสบ (Enteritis) โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่พบได้บ่อยมาจากเรื่องอาหารการกิน ทั้งการปนเปื้อนของอาหาร สารพิษในอาหาร การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร รวมถึงท็อกซินของแบคทีเรีย รวมถึงการกินยาบางชนิดก็ทำให้เกิดการระคายเคืองและเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ ยกตัวอย่างเช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายเส้น และยาแก้ปวดที่ไม่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์

อาการโรคกระเพาะลำไส้อักเสบ

นอกจากอาหารและยาแล้ว การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อย หลายคนอาจมองข้าม ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วแอลกอฮอล์ถูกดูดซึมในกระเพาะอาหารได้โดยตรงจึงทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ยิ่งดื่มตอนท้องว่างก็ยิ่งทำให้เกิดการอักเสบได้มากเป็นเงาตามตัว ปัจจัยที่พบได้บ่อยอีกอย่างคือการติดเชื้อแบคทีเรียจำเพาะบางอย่างในกระเพาะอาหาร เชื้อที่ว่าคือ เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ที่ปนเปื้อนกับอาหาร ที่ต้องแยกออกมาเพราะเชื้อชนิดนี้ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในกระเพาะอาหารได้ในอนาคตหากไม่รักษาหรือปล่อยให้การอักเสบนั้นเป็นเรื้อรัง

สาเหตุโรคกระเพาะลำไส้อักเสบ

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบที่พบ บ่อยที่สุดคือการติดเชื้อแบคทีเรีย จำพวกอีโคไล (E.coli) และ Staphylococcus spp. ซึ่งทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค นอกจากนี้ไวรัสหลาย ๆ สายพันธุ์ก็ทำให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบได้ โดยโรคลำไส้อักเสบจะมีความเกี่ยวพันกับโรคกระเพาะอาหารอักเสบเนื่องจากสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยเช่นกัน โดยคนไข้ที่มีอาการลำไส้อักเสบอาจมีอาการโรคกระเพาะลำไส้อักเสบร่วมด้วย เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไปจะถูกลำเลียงจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้ตามกระบวนการย่อยอาหารของร่างกาย

ผลกระทบต่อสุขภาพของโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ

  1. ภาวะขาดน้ำ เป็นภาวะแทรกซ้อนของการอาเจียน หรือท้องร่วงอย่างรุนแรง
  2. ในร่างกายของเด็กเล็กมีน้ำน้อยกว่าผู้ใหญ่ เด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำ และอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบร้ายแรงได้
  3. การอาเจียน และท้องร่วง จะทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานที่เหมาะสมของร่างกาย
  4. ความเสียหายของเยื่อเมือกในทางเดินอาหารจะทำให้กระเพาะอาหารไม่สามารถรับอาหารที่มีไขมันได้ ซึ่งอาจทำให้อาการท้องร่วงแย่ลง

บทความแนะนำ รักษาเส้นเลือดขอด จาก Rattinan.com

คำแนะนำในการป้องกันโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ

  1. ฝึกสุขอนามัยที่ดีด้วยการล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนการปรุงอาหาร การกิน และหลังจากใช้ห้องน้ำ
  2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเล และหอยที่ไม่สุกเพื่อลดโอกาสของอาหารเป็นพิษ
  3. ล้างผัก และเนื้อสัตว์ให้ทั่วถึงก่อนการปรุงอาหาร
  4. วางอาหารสดในตู้เย็น หรือช่องแช่แข็งหากไม่รับประทานทันที ควรเก็บอาหารดิบ และอาหารสุกแยกกัน
  5. หากเด็กทารกดื่มนมจากขวดนม ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด ทิ้งนมที่ดื่มไม่หมดทันทีและไม่ใช้นมที่ดื่มไม่หมดในการป้อนครั้งต่อไป
  6. หลีกเลี่ยงการดูดนิ้วในเด็ก

สัญญาณเตือนอาการโรคกระเพาะลำไส้อักเสบ

เข้าพบแพทย์ทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้

  1. สัญญาณของการขาดน้ำ ท้องร่วงทวีความรุนแรงมากขึ้น หรืออุจจาระถี่ขึ้น ปาก และลิ้นแห้งมาก สูญเสียความยืดหยุ่นของผิวหนัง หรือความยืดหยุ่นของผิวหนังลดลง ปัสสาวะออกมาน้อยมาก ตาตก หรือรอยคล้ำรอบดวงตา หายใจเร็ว หรือช้าเกินไป หดหู่ หรือมีอาการเวียนศีรษะ
  2. อาเจียนอย่างรุนแรงซึ่งมีผลต่อการกิน และการดื่มน้ำ
  3. ท้องร่วงทวีความรุนแรงมากขึ้น มีน้ำเมือก หรือเลือดปนอยู่ในอุจจาระ ซึ่งอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

อาการโรคกระเพาะลำไส้อักเสบ รักษายังไง

บทความแนะนำ “ดูดไขมัน” โดยแพทย์สอนดูดไขมัน By Rattinan.com

ผลกระทบต่อสุขภาพของโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ

  1. ภาวะขาดน้ำ เป็นภาวะแทรกซ้อนของการอาเจียน หรือท้องร่วงอย่างรุนแรง ในร่างกายของเด็กเล็กมีน้ำน้อยกว่าผู้ใหญ่ เด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำ และอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบร้ายแรงได้
  2. การอาเจียน และท้องร่วง จะทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานที่เหมาะสมของร่างกาย
  3. ความเสียหายของเยื่อเมือกในทางเดินอาหารจะทำให้กระเพาะอาหารไม่สามารถรับผลิตภัณฑ์ประเภทนม หรืออาหารที่มีไขมันได้ซึ่งอาจทำให้อาการท้องร่วงแย่ลง
ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น