โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารโดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา เพราะเป็นชั่วโมงที่เร่งรีบ ทำให้เจ็บป่วยเนื่องมาจากพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลจากโรคกระเพาะได้เป็นอย่างดี

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร

สำหรับโรคแผลกระเพาะอาหารหรือที่คนโดยทั่วมักเรียกกันว่าโรคกระเพาะอาหารนั้น หมายถึงแผลที่เกิดในเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีอาการปวดท้อง มีที่มาจากกรดในกระเพาะอาหารมาก ซึ่งทำให้ระคายเคืองจนส่งผลเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และในหลายกรณีไม่ได้ปวดตลอดเวลา จะมีการเป็น ๆ หาย ๆ ก่อนและหลังเวลาอาหาร อาการปวดท้องจะทุเลาหากได้รับประทานอาหาร ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง เพราะหากละเลยอาการจนในที่สุดจากอาการปวดท้องเพราะกรดในกระเพาะอาหาร อาจมีภาวะแทรกซ้อนเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะลำไส้เป็นแผลทะลุ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร

เกิดจากหลายสาเหตุ โดยอาจแบ่งออกได้เป็น 3 สาเหตุหลัก ดังนี้

  1. การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด อารมณ์แปรปรวน การดื่มแอลกอฮอลล์ ชา กาแฟ และสูบบุหรี่เป็นประจำ
  2. เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย เกิดได้จาก ยาแก้ปวด ลดไข้บางชนิดที่อาจส่งผลระคายกระเพาะอาหาร การกินอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรือกินอาหารไม่เป็นเวลา
  3. ติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori (Helicobactor Pylori) เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนต้น และปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ผู้ที่ติดเชื้อจะมีโอกาสเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นเพิ่มขึ้น 6-40 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีการติดเชื้อ และมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น 2-6 เท่า
  4. หากผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหาร เช่น ทานอาหารตรงเวลาสม่ำเสมอ แต่กลับเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรังให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเกิดจากสาเหตุที่ 3 คือติดเชื้อ H.pylori ให้เข้าพบแพทย์ทันที ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาฆ่าเชื้อ แต่อาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา ทำให้รักษาไม่หายขาด

อาการของโรคกระเพาะ

  1. ปวดท้องลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือแผลกระเพาะอาหาร
  2. ปวดบริเวณลิ้มปี ปวดแบบแสบ ๆหรือร้อน ๆ ปวดเรื้อรังมานาน เป็น ๆ หาย ๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี
  3. ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวดบางรายจะปวดหลังจากกินอาหาร หรือนมจะหายปวดบางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรืออาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  4. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
  5. อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่
  6. อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
  7. ปวดท้องรุนแรง และ ช็อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารทะลุหรือลำไส้เล็กทะลุ
  8. ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
  9. อาการของโรคจะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค บางรายไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีแผลใหญ่มากในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ บางรายปวดท้องมากแต่ไม่มีแผลเลยก็ได้

โรคกระเพาะอาหาร รักษายังไง

ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์

  1. ปวดท้องทันทีปวดเหมือนถูกมีดบาดขยับตัวหรือหายใจแรง ๆจะทำให้ปวดเพิ่มมากขึ้น และปวดไม่หายซึ่งอาจจะเกิดจากกระเพาะอาหารทะลุ
  2. อุจจาระดำหรืออาเจียนเป็นเลือดเนื่องจากเลือดออกทางเดินอาหาร
  3. แน่นท้องอาเจียนบ่อยเป็นอาหารที่รับประทานเข้าไปซึ่งอาจจะเกิดจากลำไส้อุดตัน

วิธีการรักษา ทำอย่างไร

  1. กำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ได้แก่
  • กินอาหารให้เป็นเวลา
  • งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
  • งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือยาดอง
  • งดดื่มน้ำชา กาแฟ
  • งดสูบบุหรี่
  • งดเว้นการกินยา ที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายคลายตึงเครียด
  • หยุดยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS
  1. การให้ยารักษา

โดยกินยาอย่างถูกต้อง คือต้องกินยาให้สม่ำเสมอ กินยาให้ครบตามจำนวน และระยะเวลาที่แพทย์สั่งยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ แผลจึงจะหาย ดังนั้นภายหลังกินยา ถ้าอาการดีขึ้นห้ามหยุดยา ต้องกินยาต่อจนครบ และแพทย์แน่ใจว่าแผลหายแล้ว จึงจะลดยาหรือหยุดยาวได้

  1. การผ่าตัด

ซึ่งในปัจจุบัน มียาที่รักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างดีจำนวนมากถ้าให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดอาจทำให้เป็นกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน ได้แก่

  • เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยไม่สามารถทำให้หยุดเลือดออกได้
  • แผลกระเพาะอาหารทะลุและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ
  • กระเพาะอาหารมีการอุดตัน
ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น