กรดในกระเพาะอาหาร มีอาการแบบไหน รักษายังไงถึงจะหายได้

กรดในกระเพาะนั้นสำคัญต่อการย่อยอาหาร แต่ถ้ามีกรดมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดการไหลย้อนกลับของกรด มีความรู้สึกแสบร้อนในกระเพาะอาหารหรือหลังคอ ไอแห้ง คนส่วนใหญ่ที่มีอาการเหล่านี้ในบางครั้ง มักจะเกิดหลังจากการกินอาหารบางอย่าง การกินเร็วเกินไปโดยได้เคี้ยวให้ดี หรือกินแล้วนอนเร็วเกิน รวมทั้งโรคอ้วน การตั้งครรภ์ และอาการป่วยอื่น ๆ ก็สามารถทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มขึ้นได้ด้วย

กรดในกระเพาะอาหาร

โรคกรดไหลย้อน คืออะไร

โรคกรดไหลย้อน เกิดจากการที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหาร อันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนทำงานผิดปกติ เช่น ปิดไม่สนิท หรือเปิดบ่อยเกินไป อาการดังกล่าวอาจเกิดได้จากหลายกรณี เช่น รับประทานมื้อใหญ่เกินไป รับประทานอาหารทอด มันมาก หรืออาหารรสจัด รับประทานอาหารแล้วเข้านอนทันที รวมไปถึงการดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ผู้ที่สูบบุหรี่ อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นโรคหอบหืด โรคอ้วน หรือมีความเครียด ก็มีโอกาสเกิดได้เช่นกัน

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

  1. ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร ที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าในคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว
  2. ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
  3. ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง

อาการของโรคกรดไหลย้อน

  1. แสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก การนอนหงาย
  2. มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ผู้ป่วยมักมีอาการเรอและมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก จนทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหารขึ้น ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบมีเลือดออกจากหลอดอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก
  3. ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
  4. เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ ต้องพยายามกระแอมออกบ่อย ๆ
  5. หืดหอบ ไอแห้ง ๆ เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ

กรดในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน

การปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการกรดไหลย้อน

  1. คนที่เป็นโรคนี้มักมีอาการผิดปกติในระยะที่แก้ไขกลับตัวได้ สามารถรักษาได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การทำงาน การกินเบา ๆ เน้นอาหารแก้โรคกระเพาะ ก่อนที่จะสายเกินไป ถ้าพบความผิดปกติดังกล่าว ลองปฏิบัติดังนี้ค่ะ
  2. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากหรืออ้วนเกินไป
  3. เลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต
  4. เลี่ยงการดื่มสุราและการสูบบุหรี่
  5. ผลไม้ช่วยย่อย การปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการกรดไหลย้อน
  6. เลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก และควรกินอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  7. ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป
  8. ปรับหรือหนุนหัวให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว
  9. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  10. เลี่ยงความเครียด หรือหาทางผ่อนคลายความกดดันในชีวิตอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ

แนวทางการรักษาโรค

แนวทางการบรรเทาอาการของโรค สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดและกระตุ้นอาการของโรค ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบผิด ๆ การทานอาหารมัน ๆ อาหารรสชาติจัดจ้านมากเกินไป ลดละเลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาแฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ทานอาหารในปริมาณที่พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ทานอาหารแล้วนอน เป็นต้น

  • แนวทางการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน เช่น การใช้ยาลดกรด ยาเคลือบเยื่อบุกระเพาะและหลอดอาหาร หรือยารักษาโรคกระเพาะ ยาลดกรดแผนปัจจุบันต่าง ๆ ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้บ่อย ๆ เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียนอ่อนเพลีย มีอาการไม่สบายท้อง เบื่ออาหาร ฯลฯ
  • แนวทางการรักษาด้วยสมุนไพร การรักษาด้วยสมุนไพรพื้นบ้านไทยอย่างขมิ้นชันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยม เนื่องจากขมิ้นชันเป็นสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้ มีฤทธิ์ช่วยขับลม ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเมือกมาเคลือบเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ ยับยั้งการหลั่งน้ำย่อย ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหาร ต้านการอักเสบของลำไส้ใหญ่ และช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่ไม่มีพิษเฉียบพลัน ไม่สะสมในตับ ถือว่ามีความปลอดภัยสูงในการนำมาใช้รับประทาน
ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น