ปวดท้องกระเพาะมากทำไงดี

โรคกระเพาะ เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ที่คนส่วนใหญ่เป็นแล้ว การรักษาให้หายขาดนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก หรือหายแล้วก็กลับมาเป็นได้อีก จึงทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะนั้น รู้สึกทรมานกับอาการของโรคเป็นอย่างมาก ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษไม่ว่าจะเป็นการดูแลตนเองในเรื่องอาหารการกิน หรือวิธีที่จะทำให้ห่างไกลจากการปวดท้องกระเพาะมากทำไงดี ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก หากเป็นแล้ว รักษาให้หายขาดนั้นต้องใช้เวลานานหรือไม่มีโอกาสหายได้เลย

ปวดท้องกระเพาะมากทำไงดี

สาเหตุการเกิดโรคกระเพาะ

ปวดท้องกระเพาะมากทำไงดี เกิดจากมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไปร่วมกับความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง จึงทำให้มีแผลเกิดขึ้น และปัจจุบันพบว่ายังมีปัจจัยเสริมอื่น ๆที่ทำให้เกิดโรคได้อีก ได้แก่

  1. การติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor Pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะ ผนังกระเพาะจึงอ่อนแอลงและมีความทนต่อกรด ลดลง ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเกิดแผลได้ง่าย แผลหายช้า และเกิดแผลซ้ำได้อีก
  2. รับประทานสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ เช่น ดื่มชา กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ ยาชุดหรือยาลูกกลอนที่มี สเตียรอยด์ เป็นต้น
  3. มีอุปนิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหารอย่างเร่งรีบ รับประทานไม่เป็นเวลาหรืออดอาหารบางมื้อ เป็นต้น
  4. การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสของการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นได้

บทความแนะนำ ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก จาก Rattinan.com

อาการปวดแบบไหนที่ใช่โรคกระเพาะ

สำหรับอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารนั้น ผู้ป่วยจะปวดจุก แสบ แน่นบริเวณเหนือสะดือกลางท้องหรือบริเวณลิ้นปี่ โดยอาจเป็นได้ทั้งการปวดแบบเฉียบพลันและปวดแบบเรื้อรัง

  1. ปวดท้องเฉียบพลัน เป็นการปวดรุนแรงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนซึ่งแพทย์ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ นอกเหนือ จากโรคกระเพาะก็ได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี หรือตับอ่อนอักเสบ
  2. ปวดท้องเรื้อรัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด นั่นคือปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ มาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน เป็นการปวดท้องที่เกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร เช่น ปวดขณะหิวหรืออิ่ม แต่เป็นการปวดแบบทนได้ และเมื่อรับประทานยาลดกรดหรืออาหารแล้วมีอาการดีขึ้น
  3. โรคในกระเพาะอาหารที่เกี่ยวข้องกับการปวดแบบเรื้อรังนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของ กระเพาะอาหาร เช่น เป็นแผลในกระเพาะ เป็นแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น กระเพาะอาหารอักเสบ หรือมะเร็งในกระเพาะอาหาร ซึ่งอัตราการเกิดโรคเหล่านี้มีประมาณร้อยละ 20 – 25 ของผู้ป่วยโรคกระเพาะเรื้อรัง

อาการปวดแบบไหนที่รอไม่ได้

ถ้าคุณมีอาการปวดท้องแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิน 4 สัปดาห์ควรมาพบแพทย์ แต่ถ้าหากมีอาการปวดท้องร่วมกับสัญญาณเตือนต่อไปนี้ต้องรีบพบแพทย์ทันที

  1. ปวดท้องโดยมีอาเจียนร่วมด้วย
  2. ปวดท้องเปลี่ยนรูปแบบ เช่น จากที่เคยปวดแสบกลายเป็นปวดบีบ ปวดเกร็ง ปวดรุนแรงขึ้น
  3. มีภาวะโลหิตจาง อาจเกิดจากการเสียเลือดในกระเพาะอาหาร
  4. ตาเหลือง
  5. มีไข้เรื้อรัง 37.5 – 38 องศาตลอดเวลา
  6. น้ำหนักลดเกินร้อยละ 10 ภายใน 1 – 2 เดือน
  7. รับประทานยาลดกรดด้วยตัวเองแล้ว 1 – 2 สัปดาห์แต่ไม่ดีขึ้น ยังปวดท้องอยู่หรือมีอาการอื่นเพิ่มเติม

ปวดท้องกระเพาะมากทำไงดี ถึงจะหาย

อาการปวดท้องบอกอะไร

เราทุกคนต่างก็ต้องเคยผ่านประสบการณ์ปวดหรือแน่นบริเวณช่องท้องกันมาแล้ว ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในรูปแบบที่แตกต่างกันไป อาจเป็นการปวดแน่น ปวดเกร็ง ปวดบีบ หรือปวดเบา ๆ อาการปวดท้องเหล่านี้ ส่งสัญญาณที่บอกถึงปัญหาสุขภาพได้หลายประการ ซึ่งอาการปวดท้องสามารถแบ่งตามบริเวณที่ปวดได้เป็น 2 ส่วน คือ

  1. ปวดท้องส่วนบน เป็นการปวดบริเวณเหนือสะดือ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหาร ตับ ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน
  2. ปวดท้องส่วนล่าง เป็นการปวดบริเวณต่ำกว่าสะดือ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง ไต มดลูกและปีกมดลูก เป็นต้น เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง ต้องถามก่อนว่าปวดตรงไหน หรือเริ่มปวดจากตรงไหนก่อนเพื่อจะบอกได้ว่าเกี่ยวข้องกับอวัยวะส่วนใด จากนั้นแพทย์จะต้องวินิจฉัยอย่างรวดเร็วว่าเป็นการปวดจากสาเหตุใดเพื่อให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้สาเหตุของการปวดท้องเกิดได้จาก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
  • ปวดท้องจากโรคทางศัลยกรรม เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้รั่ว ลำไส้อุดตัน เยื่อบุช่องท้องหรือเยื่อบุลำไส้อักเสบเฉียบพลัน มะเร็งลำไส้ หรืออาจเกิดจากนิ่ว ซึ่งโรคเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยศัลยกรรมผ่าตัดหรือศัลยกรรมส่องกล้องเท่านั้น
  • ปวดท้องจากโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหาร ท้องผูกเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับตับ โรคติดเชื้อในระบบลำไส้ เป็นต้น
ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น