กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจาก อะไร มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจาก กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย จากสถิติพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบมากในช่วงอายุ 20-50 ปี โดยเฉพาะสาว ๆ ออฟฟิศที่นั่งติดอยู่กับที่โต๊ะทำงาน แบบไม่อยากขยับเขยื้อนตัวลุกไปไหน สาเหตุที่พบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายมาจากสรีระทางร่างกายผู้หญิงซึ่งมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย ดังนั้นเชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะจึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ท่อปัสสาวะของผู้หญิงยังเปิดออกสู่ภายนอกในบริเวณใกล้กับช่องคลอด และทวารหนัก จึงมีโอกาสติดเชื้อทั้งจากช่องคลอด และจากทวารหนักโดยเฉพาะเจ้าเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายเข้าไปอีก

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจาก

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจาก สาเหตุหลักที่พบมากที่สุด คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล(Escherichia coli : E. coli), เคล็บซิลลา(Klebsiella), สูโดโมแนส (Pseudomonas), เอนเทอโรแบกเตอร์(Enterobacter) ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะมีอยู่มาก ที่บริเวณรอบทวารหนัก สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกวิธี การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือการสวนปัสสาวะ นอกจากนี้ อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย แต่มักเกิดได้น้อยมาก เช่น เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง การใช้ยา การใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณจุดซ่อนเร้น การฉายรังสีบริเวณกล้ามเนื้อเชิงกราน หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  1. การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ทำให้เชื้อโรคในปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดี
  2. การดูแลรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้หญิง หากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี เช่น เช็ดทำความสะอาดจากด้านหลังมาด้านหน้า ก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อจากช่องคลอดและทวารหนักได้
  3. การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ ทำให้แบคทีเรียชนิดดีที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคถูกกำจัดออกไป จึงเกิดการติดเชื้อง่ายขึ้น
  4. การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  5. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงลดลง ทำให้ความชุ่มชื้นบริเวณเยื่อบุช่องคลอดและเยื่อบุท่อปัสสาวะซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อลดลงตามไปด้วย
  6. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากควบคุมโรคได้ไม่ดีก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว
  7. ผู้ป่วยต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน8. การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน

 อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  1. มีอาการขัดเบา คือ ถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอย (ปัสสาวะทีละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง) มีอาการคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุด
  2. รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อยหรือหัวหน่าว ปวดแสบ ขัด ขณะปัสสาวะโดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด
  3. ปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ ในรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะมีเลือดปน มักไม่มีไข้ยกเว้นถ้ามีกรวยไตอักเสบร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะสีขุ่น และมีอาการปวดเอวร่วมด้วย ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะ รดที่นอน และอาจมีไข้เบื่ออาหาร อาเจียนร่วมด้วย
  4. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถสังเกตความผิดปกติที่พบได้บ่อยดังนี้
  • ปวดปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ น้ำปัสสาวะขุ่น มีปริมาณน้อย และมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • ปวดบริเวณท้องน้อย มีไข้ ปัสสาวะมีเลือดปนในบางครั้ง
  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักไม่พบอาการที่ชัดเจน แต่อาจมีอาการอ่อนเพลีย อารมณ์หงุดหงิด ความอยากอาหารลดลง และอาเจียน
  • สำหรับผู้สูงอายุบางคนแทบไม่พบอาการ แต่มักจะมีอาการอ่อนเพลีย สับสน หรือมีไข้

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจาก อะไร รักษายังไง

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจเกิดได้ง่ายขึ้นในบุคคลบางกลุ่มหรือบางสภาวะที่มักเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค ดังนี้

  • ผู้หญิงจะเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้นกว่า และตำแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้ทวารหนักมากกว่าผู้ชาย จึงเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า ซึ่งผู้หญิงเกือบครึ่งอย่างน้อยเคยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 24 ปี อาจจะเป็นโรคนี้ได้ 1 ใน 3 คน
  • อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ โดยอาจพบหญิงตั้งครรภ์ 4 ใน 100 คน ที่มักเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • การมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้หญิงที่มีการคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิในช่องคลอด
  • อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศและท่อปัสสาวะหลังหมดประจำเดือนจนอาจทำให้ป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้น้อยลง
  • ผู้ที่คาสายสวนปัสสาวะ
  • มีความผิดปกติหรือโรคประจำตัวเกี่ยวกับการทำงานของไต กระเพาะปัสสาวะ หรือระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น โรคเอดส์ การใช้ยารักษาโรคที่กดระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น