ยารักษาแผลในกระเพาะลำไส้ วิธีการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

เป็นโรคที่เกิดมีแผลขึ้นในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น บริเวณปลายหลอดอาหารส่วนที่อยู่ต่อกับกระเพาะอาหารร่วมด้วย เนื่องจากเยื่อเมือกบุภายในทางเดินอาหารเหล่านี้ถูกทำลายโดยน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร

ยารักษาแผลในกระเพาะลำไส้

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หมายถึง แผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารบริเวณที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงพบแผลได้ตั้งแต่ส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนตำแหน่งที่พบแผลได้บ่อย คือ กระเพาะอาหารส่วนปลาย (เรียก Gastric Ulcer, GU) และลำไส้เล็กส่วนต้น ใกล้รอยต่อระหว่างกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (เรียก Duodenal Ulcer, DU) โดยแผล DU พบได้บ่อยในทุกอายุตั้งแต่ 20-70 ปี ส่วนแผล GU จะพบมากในผู้สูงอายุคืออายุ 40-70 ปี

ปัจจุบัน พบว่าเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (Helicobactor Pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร มีบทบาทโดยตรงและถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หากในขณะทำการใช้ยารักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้แผลหายช้า หรือทำให้แผลที่หายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้อีก กลายเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ที่สำคัญ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย

ปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิดโรคแผลในกระเพาะลำไส้

  1. การรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร และลำไส้ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงยากลุ่ม NSAID อาทิ แอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ และยาชุด เป็นต้น
  2. พฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเร่งรีบ กินไม่เป็นเวลา หรืออดอาหารบางมื้อ
  3. นอกจากบุหรี่จะส่งผลต่อปอดและทางเดินหายใจแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารด้วย เพราะอาจเพิ่มโอกาสการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
  4. การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor Pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะ ผนังกระเพาะจึงอ่อนแอลงและมีความทนต่อกรด ลดลง ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเกิดแผลได้ง่าย แผลหายช้า ส่งผลให้เกิดแผลซ้ำได้อีก

สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าโรคกระเพาะอาหาร เกิดจากหลายสาเหตุ และมีกลไกของพยาธิกำเนิดที่ซับซ้อนมาก แต่สาเหตุที่สำคัญคือ กรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดได้ไม่ดี ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ความเครียด อาหารเผ็ด ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น

ยารักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ทำยังไง

อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  1. ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือหน้าท้องช่วงบน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว อาการจะไม่เป็นตลอดทั้งวัน
  2. อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด ผู้ป่วยบางคนมีอาการปวดจะเป็นมากขึ้นหลังมื้ออาหาร โดยเฉพาะหลังกินอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น
  3. อาการปวดกลางท้องรอบสะดือ มักมีท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกินอาหาร ท้องจะอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโครกคราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อหรือช่วงเช้ามืด ผู้ป่วยอาจมีอาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อยลงและน้ำหนักลดลงบ้างเล็กน้อย แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม ไม่มีน้ำหนักลด ไม่ซีดลง

การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร

ให้กินยาลดกรดหรือยารักษาแผลในกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ รวมทั้งให้ยากำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (ในกรณีที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ร่วมด้วย) หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อนใน 3-7 วัน แต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกัน เป็นเวลานาน 6-8 สัปดาห์ แผลจึงหาย

ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น