เลือดออกในกระเพาะอาหาร

เลือดออกในกระเพาะอาหาร เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เป็นภาวะที่พบได้บ่อย และเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความเครียด อาหาร หรือการขับถ่าย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคในระบบทางเดินอาหารได้

เลือดออกในกระเพาะอาหาร

สาเหตุที่ทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหาร

  1. กรดในกระเพาะ สามารถทำให้เกิดการอักเสบและเลือดออกที่หลอดอาหารส่วนปลาย ภาวะนี้เรียกว่าหลอดอาหารอักเสบ บางครั้งกล้ามเนื้อหูรูดตรงตำแหน่งปลายของหลอดอาหารตรงส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหารไม่สามารถหดตัวได้ดี ทำให้อาหารและน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้ามาในหลอดอาหาร จะทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบ การมีเส้นเลือดที่หลอดอาหารโป่งพอง (varices) ตรงบริเวณหลอดอาหารส่วนล่าง ซึ่งอาจมีการแตกของหลอดเลือดจะทำให้มีเลือดออกในหลอดอาหารหรืออาจเกิดจากการฉีกขาดของเยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากการอาเจียนมากและนานรวมถึงสาเหตุจากการเพิ่มความดันในท้องจากอาการไอ
  2. กระเพาะอาหาร เป็นตำแหน่งที่มีเลือดออกบ่อย ๆ สุรา, แอสไพริน, ยาแก้ปวดข้อและกระดูกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลและการอักเสบของกระเพาะ การมีแผลเฉียบพลันหรือการมีแผลเรื้อรัง ทำให้แผลใหญ่ขึ้นและจะเซาะไปโดนหลอดเลือดทำให้เกิดเลือดออก คนไข้ที่มีความเจ็บปวดจากการถูกไฟลวก ภาวะช็อค, มะเร็ง ภาวะกระทบกระเทือนทางศีรษะ หรือการได้รับการผ่าตัดใหญ่จะทำให้เกิดภาวะแผลจากความเครียด เลือดอาจจะออกจากก้อนเนื้อมะเร็งในกระเพาะ

การวินิจฉัยเลือดออกในกระเพาะอาหาร

เบื้องต้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการซักถามประวัติทางการสุขภาพ ตรวจร่างกาย และอาจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยยืนยันผลการวินิจฉัย เช่น

  • การตรวจเลือด เพื่อดูการแข็งตัวของเลือด เกล็ดเลือด และการทำงานของตับ
  • การตรวจอุจจาระ เพื่อช่วยยืนยันว่ามีเลือดออกภายในทางเดินอาหาร
  • การใส่สายสวนเข้าทางจมูกไปยังกระเพาะอาหาร เพื่อระบายสิ่งที่อยู่ภายในกระเพาะอาหารออกและอาจช่วยบอกบริเวณที่เลือดออก
  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (Upper endoscopy) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น โดยแพทย์จะสอดเครื่องมือที่เป็นท่อขนาดเล็กและมีกล้องขนาดเล็กติดอยู่ที่ส่วนปลายเข้าไปทางปากของผู้ป่วย
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติในลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือที่เป็นท่อขนาดเล็กและมีกล้องติดอยู่ที่ส่วนปลายสอดเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อสังเกตในบริเวณดังกล่าว
  • การตรวจลำไส้เล็กด้วยการกลืนกล้องแคปซูล (Capsule endoscopy) วิธีนี้ผู้ป่วยต้องกลืนกล้องขนาดเล็กเท่าแคปซูลเข้าไป ซึ่งกล้องนี้จะช่วยถ่ายภาพลำไส้เล็กทั้งหมดเอาไว้ ทำให้แพทย์สามารถเห็นจุดที่มีเลือดออกภายในลำไส้เล็กของผู้ป่วยได้
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Flexible sigmoidoscopy) แพทย์จะใช้ท่อขนาดเล็กที่มีความยืดหยุ่นพร้อมกับมีกล้องและไฟส่องเพื่อตรวจดูลำไส้ตรงและลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย รวมถึงรักษาเลือดออกในบริเวณนั้น ๆ ด้วย
  • การตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อ (ฺBiospy) แพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษสำหรับตัดชิ้นเนื้อระหว่างการส่องกล้อง แล้วนำตัวอย่างที่ได้ไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อหาความผิดปกติต่อไป
  • การตรวจวินิจฉัยทางหลอดเลือด แพทย์จะฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่หลอดเลือดแดงของผู้ป่วยก่อนการเอกซเรย์ เพื่อตรวจหาเส้นเลือดที่มีเลือดออกหรือความผิดปกติต่าง ๆ
  • การตรวจ CT Scan หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณท้อง เพื่อตรวจหาจุดที่มีเลือดออกหรือความผิดปกติภายในระบบทางเดินอาหารการส่องกล้องตรวจ (Endoscopy)
  • การส่องกล้องตรวจ เป็นวิธีการที่จะเห็นตำแหน่งที่มีเลือดออกเนื่องจากการส่องกล้องตรวจ จะช่วยบอกถึงตำแหน่งการมีหรือไม่มีเลือดออก รวมทั้งยังสามารถห้ามเลือดที่กำลังออกได้ กล้องที่ใช้ส่องตรวจเป็นเครื่องมือที่เป็นท่อ สามารถโค้งงอไปมาได้สามารถใส่เข้าปากหรือทางทวารหนัก เครื่องมือนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก (Esophagoduodenoscopy), ลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy), ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Sigmoidoscopy) เพื่อเก็บชิ้นเนื้อตรวจ (Biopsies) ถ่ายภาพและหยุดเลือดออก

อาการของเลือดออกในกระเพาะอาหาร

อาการเลือดออกทางเดินอาหารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

1.เลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น อาจมีอาการอาเจียนออกมาเป็นเลือด มักมีสาเหตุมาจากแผลในกระเพาะอาหาร รองลงมาคือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น นอกจากนี้หลอดอาหารอาจมีความผิดปกติ เช่น เส้นเลือดดำที่หลอดอาหารโป่งพองแตกออกจึงทำให้มีเลือดออกได้ หรืออาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ถ่ายมีดำ ลักษณะเหลว มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น

2.เลือดออกทางเดินอาหารส่วนล่าง จะมีอาการถ่ายเป็นเลือดสดๆ ในบางรายอาจไม่มีอาการชัดเจน อาจรู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เหนื่อยง่าย มักเกิดกับกลุ่มคนที่อายุมาก สาเหตุอาจมาจากภาวะของถุงลำไส้โป่งพองทำให้เกิดเลือดออกได้ง่าย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

หากพบความผิดปกติต่อร่างกาย เช่น ถ่ายอุจจาระมีสีเปลี่ยนไป สีคล้ำ หรือดำผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้เสียเลือดจนร่างกายช็อกและเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้เลย

เลือดออกในกระเพาะอาหาร รักษายังไง

การรักษาเลือดออกในกระเพาะอาหาร

มีวิธีการรักษาแตกต่างกันไปตามสาเหตุ ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการรักษาในระหว่างการตรวจด้วยการส่องกล้องประเภทต่าง ๆ ไปพร้อมกัน โดยแพทย์อาจฉีดยา ใช้กระแสไฟฟ้าและเลเซอร์จี้ หรือใช้คลิปหนีบหลอดเลือดเพื่อให้เลือดหยุดไหล มักหายไปได้เองหลังจากรักษาแบบประคับประคอง ซึ่งการรักษาจะมีวิธีแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่มีเลือดออก เช่น หากมีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการฉีดยาในกลุ่ม Proton pump inhibitors: PPIs เข้าเส้นเลือด เพื่อยับยั้งการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร

ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น