รักษาโรคกระเพาะ

การรักษาที่สำคัญที่สุดของโรคกระเพาะ คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะนั่นเอง การรักษาต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคที่พบ ซึ่งจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยก่อนเพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะจากสาเหตุใด

รักษาโรคกระเพาะ

โรคกระเพาะ รุนแรงหรือไม่

ตามปกติแล้ว โรคกระเพาะ นั้นเป็นโรคที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาให้หายได้เสมอหากว่ามีการพยากรณ์โรคที่ดี โดยการให้ยาและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย แต่เมื่อใดที่โรคกระเพาะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากการที่เลือดออกไม่หยุดในบริเวณที่เกิดแผล หรืออักเสบ และเมื่อเกิดการเรื้อรัง นับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของกระเพาะอาหารได้ ฉะนั้น การรักษาโรคกระเพาะ ต้องหมั่นดูแลตัวเองให้ดี รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

บทความแนะนำ ตัด ไขมัน หน้า ท้อง จากเว็บไซต์ Rattinan.com

ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

  1. มีอาการปวดท้องในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  2. เลือดออกทางเดินอาหาร (อาเจียนมีเลือดปน, ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดปน หรือถ่ายอุจาระมีสีดำ), น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ, อาเจียนบ่อย ๆทุกวัน
  3. ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการใช้ยาลดกรดแบบเม็ด เป็นระยะเวลา 4 – 8 สัปดาห์หลังการรักษา
  4. มีประวัติมะเร็งกระเพาะอาหารหรือทางเดินอาหารของญาติสายตรงลำดับหนึ่ง (ได้แก่ พ่อ แม่พี่ น้อง)

ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวเบื้องต้นควรได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องกระเพาะอาหาร ซึ่งการส่องกล้องกระเพาะอาหารเป็นหัตถการที่ปลอดภัยและมีภาวะแทรกซ้อนน้อย ทำได้โดยการพ่นยาชาเฉพาะที่บริเวณในช่องคอ หรือยาฉีดทางหลอดเลือดดำเพื่อให้ผู้ป่วยหลับ และนำกล้องลักษณะคล้ายท่อขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ผ่านช่องคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น  เพื่อให้เห็นการอักเสบ แผล หรือเนื้องอก ทั้งนี้ การส่องกล้องยังสามารถบันทึกภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว, สอดที่ตัดชิ้นเนื้อขนาดเล็กผ่านทางกล้อง เพื่อนำชิ้นเนื้อมาตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิเพื่อหามะเร็ง เป็นต้น

สาเหตุโรคกระเพาะ

เกิดจากมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไปร่วมกับความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง จึงทำให้มีแผลเกิดขึ้น และปัจจุบันพบว่ายังมีปัจจัยเสริมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคได้อีก ได้แก่

  1. การติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor Pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะ ผนังกระเพาะจึงอ่อนแอลงและมีความทนต่อกรดลดลง ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเกิดแผลได้ง่าย แผลหายช้า และเกิดแผลซ้ำได้อีก
  2. รับประทานสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ เช่น ดื่มชา กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ ยาชุดหรือยาลูกกลอนที่มีสเตียรอยด์ เป็นต้น
  3. มีอุปนิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหารอย่างเร่งรีบ รับประทานไม่เป็นเวลาหรืออดอาหารบางมื้อ เป็นต้น
  4. การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสของการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น

รักษาโรคกระเพาะ ทำยังไง

อาการเมื่อเป็นโรคกระเพาะ

มักมีอาการปวดแสบ ปวดตื้อ จุกเสียดหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการปวดเหล่านี้เป็นได้ทั้งเวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆและเวลาท้องว่าง เช่น เวลาหิวข้าว ตอนเช้ามืดหรือตอนดึกๆก็ปวดท้องได้เช่นกัน อาการปวดจะเป็น ๆ หาย ๆ เป็นได้วันละหลาย ๆ ครั้ง หรือตามมื้ออาหาร และแต่ละครั้งที่ปวดจะนานประมาณ 15 – 30 นาที อาการปวดจะบรรเทาลงได้ถ้ารับประทานอาหาร ดื่มนมหรือรับประทานยาลดกรด

 

อาการแทรกซ้อน

  1. โรคกระเพาะถ้าได้รับการรักษาและดูแลตนเองให้ถูกต้องส่วนใหญ่เป็นแล้วจะหาย แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจนมีอาการมากและเรื้อรังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เช่น
  2. เลือดออกในกระเพาะอาหาร โดยสังเกตได้จากมีถ่ายอุจจาระสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือดหรืออาเจียนมีลักษณะคล้ายผงกาแฟบดปนอยู่
  3. กระเพาะลำไส้เป็นแผลทะลุ โดยสังเกตได้จากมีอาการปวดท้องรุนแรงทันทีทันใด หน้าท้องแข็ง กดเจ็บ
  4. กระเพาะลำไส้ตีบตัน โดยสังเกตได้จากมีอาการปวดท้อง รับประทานอาหารได้น้อย อิ่มเร็ว และอาเจียนเป็นอาหารที่ไม่ย่อยหลังรับประทานอาหาร

การรักษาโรคกระเพาะ

การรักษาโดยหลักมี 2 แบบ คือ

  1. การรักษาด้วยยา โดยจะรักษาตามสาเหตุ เช่น มีการติดเชื้อแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะไว แพทย์จะให้ยาลดอาการของโรคกระเพาะ
  2. การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การผ่าตัดกรณีที่มีเนื้องอกในกระเพาะอาหาร การปรับอาหาร การออกกำลังกาย
ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น