หากท่านมีอาการ ปวดท้อง ให้สันนิษฐานว่ากำลังเป็น โรคแผลในกระเพาะอาหาร คือ แผลที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุของกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร หรือการใช้ยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดเป็นเวลานาน เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน เป็นต้น
การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดอาจทำให้อาการแย่ลงได้ แผลในกระเพาะอาหารพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารซึ่งได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ความเครียด อาหารเผ็ด ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
และสาเหตุที่สำคัญที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ การพบว่าเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (Helicobactor Pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร มีบทบาทโดยตรงและถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- อาการที่พบบ่อยที่สุดได้แก่อาการปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือหน้าท้องช่วงบน และมักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว อาการจะไม่เป็นตลอดทั้งวัน
- อาการปวดที่มักเป็น ๆ หาย บางครั้งเว้นช่วยไปค่อนข้างนาน แต่ก็กลับมาเป็นได้อีก
- ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้องหรือรู้สึกไม่สบายในท้อง โดยเฉพาะหลังกินอาหาร ท้องจะอืดขึ้นชัดเจน
- หลังจากหลับไปแล้วจะมีอาการปวดแน่นท้องกลางดึก
- สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม น้ำหนักไม่ลด ถึงแม้ว่าจะมีอาการเรื้อรังเป็นปี
- หากมีอาการปวดแน่นท้องมักจะบรรเทาได้ด้วยยาลดกรด
- ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดหลังรับประทานอาหารโดยเฉพาะอาหารที่มีรสจัด
ภาวะแทรกซ้อนของแผลในกระเพาะอาหาร
- กระเพาะอาหารอุดตันผู้ป่วยจะอิ่มเร็ว อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- กระเพาะอาหารทะลุมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมาก
- เลือดออกในกระเพาะอาหารพบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำเหลว หรือหน้ามืด
ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างไร
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
- หลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อเอช ไพโลไร ซึ่งติดต่อผ่านการบริโภคอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ
- งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ – NSAID
- รับประทานยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย4 – 8 สัปดาห์ รวมทั้งให้ยาฆ่าเชื้อ เอช ไพโลไร ด้วย
- พักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมทำเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล
- หากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปวดท้องรุนแรง หรือเบื่ออาหารน้ำหนักลดลงมาก ควรรีบไปพบแพทย์
ผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ควรรับประทานอาหารชนิดใด
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักของดอง
- หลีกเลี่ยงอาหารทอด หรือไขมันสูง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นจัด
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ช็อกโกแลต และงดน้ำอัดลมเพราะมีแก๊สมาก
- หากดื่มนมแล้วท้องไม่อืดสามารถดื่มได้
- รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- รับประทานอาหารจำนวนน้อย ๆ แต่ให้ทานบ่อย ๆ ไม่ควรทานจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
หากมีอาการแน่นท้อง ควรรับประทานอาหารชนิดใด
- เมื่ออาการเริ่มดีขึ้นแนะนำให้ทาน โจ๊ก
- และหากอาการดีขึ้นมากแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนมาเป็นข้าวต้มและข้าวสวยตามลำดับ
- หากมีอาการปวดที่รุนแรง อาจต้องรับประทานเป็นอาหารเหลวทุกชั่วโมง เช่น น้ำข้าว น้ำซุป น้ำเต้าหู้
- หากมีอาการแน่นท้องมาก ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นวันละ 6 มื้อ โดยแต่ละมื้อให้ทานในปริมาณที่น้อยลง แต่ทานให้บ่อยขึ้น
แผลในกระเพาะอาหารจะหายขาดได้หรือไม่
- หากท่านปฏิบัติตัวดีรับประทานอาหารเป็นเวลา งดทานอาหารที่มีลดจัด ดูแลสุขภาพดี ก็จะหายขาดได้ แต่ถ้าไม่ระวังก็จะกลับไปเป็นใหม่ได้เช่นกัน
- ผู้ป่วยที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ pylori วิธีบรรเทาอาการของโรคคือ ปฏิบัติตัวตามหลักการที่ได้กล่าวไว้แล้ว บางรายอาจต้องใช้ยาติดต่อเป็นระยะเวลาหลายเดือนเพื่อควบคุมไม่ให้มีอาการ
- ในกรณีที่มีการติดเชื้อ pylori ร่วมด้วย พบว่าหลังจากที่กำจัดเชื้อได้แล้ว มีโอกาสหายขาดได้
บทสรุป
โรคแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก ผู้ป่วยจึงต้องควรดูแลตัวเองให้ดี รับประทานอาหารให้เป็นเวลา งดอาหารที่มีรสจัดไม่ว่าจะเป็นเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หาเวลาทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด เพียงเท่านี้ท่านก็จะไม่กลับไปเป็นซ้ำแล้ว