โรคเครียดลงกระเพาะ ต้องเตรียมรับมืออย่างไร เพื่อการรักษา

ปัจจุบันนี้ความเครียดและความวิตกกังวลจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ไม่เว้นแม้แต่ระบบการย่อยอาหาร หรือที่ใคร ๆ เรียกกันว่าโรคเครียดลงกระเพาะ ซึ่งทำให้มีอาการคลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก อาจมีอาการท้องเสีย หรือท้องผูกร่วมด้วย การรักษาและการป้องกันที่ตรงจุดคือผู้ที่เป็นจะต้องเรียนรู้ที่จะรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นและต้องรู้จักปล่อยวาง

โรคเครียดลงกระเพาะ

รับมืออย่างไรดี เมื่อความเครียดลงกระเพาะ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างสามารถบรรเทาอาการจากภาวะความเครียดลงกระเพาะที่ได้ผล ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตนเอง ด้วยการหมั่นทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย และพยายามปล่อยวางและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้

  • ท่านต้องหากิจกรรมทำเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น การเล่นโยคะ ฟังเพลง ท่องเที่ยว พยายามอย่าให้ตัวเองว่าง
  • การพูดคุยกับคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนรอบข้าง ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น หรือหากเป็นไปได้การเข้ารับคำปรึกษากับนักจิตวิทยาก็เป็นวิธีที่ดี เพราะนักจิตวิทยาจะแนะนำวิธีรับมือกับความเครียดให้กับเราได้
  • การฝึกสมาธิและการหายใจ จะช่วยให้รู้สึกถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ถึงกฎของธรรมชาติ
  • การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟินที่มีในสมองซึ่งจะช่วยทำให้ผ่อนคลาย และทำให้อารมณ์ดีขึ้น และยังช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดี
  • อาหารบางชนิดจะส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดได้ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกอาหารขยะ อาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • หากท่านคิดว่าการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นการช่วยลดความเครียด ท่านกำลังคิดผิด ยิ่งจะส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร รวมทั้งกาแฟ และน้ำอัดลม ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียด
  • การแก้ไขปัญหาที่เป็นต้นเหตุของความเครียดเป็นวิธีที่รับมืออย่างตรงจุดที่สุด
  • ต้องไม่ทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อน ซึ่งหากมีงานต้องรับผิดชอบมากเกินไปจะทำให้เกิดความเครียด

ความเครียดส่งผลต่อระบบย่อยอาหารอย่างไร

  • ความเครียดจะหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อย
  • ความเครียดเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เส้นประสาทในระบบย่อยอาหารทำงานแย่ลง ซึ่งจะส่งผลกระทบอื่น ๆ ตามมา ดังนี้
  • ระบบภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น
  • กล้ามเนื้อหลอดอาหารหดตัวและมีกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย
  • เมื่อเกิดความเครียดทำให้มีผลต่อลำไส้ใหญ่จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูกได้
  • เนื่องจากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี อาจมีอาการแสบร้อนกลางอกละกรดไหลย้อน
  • เมื่อเกิดความเครียดจะทำให้มีแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี

โรคเครียดลงกระเพาะ รักษายังไง

อาการของโรคเครียดลงกระเพาะ

  • คลื่นไส้อาเจียนทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
  • ปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่และอาจมีอาการท้องอืด และมวนท้องร่วมด้วย
  • มักจะรู้สึกว่าตัวเองถ่ายอุจจาระไม่สุดและอาจต้องเบ่งถ่ายมากกว่าปกติ
  • อาจมีอาการถ่ายอุจาระผิดปกติ บางคนอาจจะถ่ายมากกว่าวันละ 3 ครั้ง

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย และกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดจะอยู่ในวัย 18 – 35 ปี ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง เช่น การเข้ามหาวิทยาลัย การเข้าทำงาน การแต่งงาน ทำให้เกิดความเครียดซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน จะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมักจะมีอารมณ์แปรปรวนได้มาก

โรคนี้ไม่ใช่สัญญาณของโรคร้าย คุณจะต้องหมั่นสังเกตตนเอง หากสงสัยว่ามีอากการของภาวะเครียดลงกระเพาะ การที่คุณพยายามรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นก็เป็นสิ่งที่ตนเองสามารถทำได้ แต่หากมีอาการปวดท้องเรื้อรัง หรือระบบย่อยอาหารแย่ลงควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาสาเหตุว่าเป็นโรคร้ายแรงหรือไม่ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

เราจะมีวิธีสังเกตความเครียดที่ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร

ในขณะที่เราเครียดร่างกายจะเกิดอาการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น ปอดขยายตัวเพิ่มขึ้นสร้างออกซิเจนเข้าสู่กล้ามเนื้อและหัวใจ เราจึงหายใจเร็วขึ้น หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อมีอาการเกร็ง ปากแห้ง และยิ่งไปกว่านั้น ความเครียดยังทำให้การทำงานของกระเพาะอาหาร และลำไส้หยุดชะงักลง กรดในกระเพาะอาหารเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดอาการปั่นป่วนในช่องท้อง และรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน

บทสรุป

โรคเครียดลงกระเพาะ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียน วัยทำงาน หรือผู้ที่มีอายุมากขึ้น ซึ่งมีเรื่องให้ต้องคิดมากมาย และเมื่อมีเรื่องต้องคิดมากจึงทำให้เกิดความเครียด ซึ่งความเครียดเหล่านี้จะส่งผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายไม่เว้นแม้แต่กระเพาะอาหาร

ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น