โรคกระเพาะภาษาอังกฤษ

โรคกระเพาะอาหาร หลายคนกำลังประสบกับโรคนี้อยู่เป็นจำนวนมาก เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคที่พบได้มากในกลุ่มของวัยกลางคน ที่มีการแข่งขันกันสูงมาก ทำให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันต้องเร่งรีบ ส่งผลให้ร่างกายได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โรคกระเพาะเป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อย

โรคกระเพาะภาษาอังกฤษ

โรคกระเพาะ คือ

โรคกระเพาะภาษาอังกฤษ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบ หรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันในระยะเวลาอันรวดเร็ว เป็นในระยะสั้น ๆ และหายภายใน 1-2 สัปดาห์  หรือมีอาการบ่อยครั้งเป็นระยะเวลานาน จนเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดแผล และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ การเป็นโรคกระเพาะอาหารนั้น ถือว่าเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยากเลยทีเดียว

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ

สาเหตุหลักของโรคกระเพาะภาษาอังกฤษนั้น เกิดจากการเสียสมดุลของกรดที่หลั่งออกมา ไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเยื่อบุอาหารนั้นมีความต้านทานกรดได้ไม่ดี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคที่พบมากในปัจจุบัน คือ การใช้ชีวิต ความเครียด ความกังวล ที่พบได้บ่อยในสังคมการทำงาน รวมถึงวิถีชีวิตในด้านการรับประทานอาหารที่ไม่ดีและการละเลยสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การอดอาหาร การรับประทานอาหารรสจัดเป็นประจำ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin ยาลดการอักเสบเป็นประจำ และอีกหนึ่งสาเหตุของโรคที่สำคัญ คือ การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอชไพโลไร (Helicobacter pylori หรือย่อว่า H.pylori) มีการถ่ายทอดจากคนสู่คน จากการรับประทานอาหาร เชื้อจะเข้าสู่กระเพาะอาหารและเลื่อนเข้าสู่เซลล์เยื่อบุผิว ซึ่งเชื้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากที่สุด

อาการของโรคกระเพาะ

อาการของโรคกระเพาะที่พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ โดยอาการของโรคสามารถพบได้ดังนี้

  1. ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือแผลกระเพาะอาหาร ปวดบริเวณลิ้มปี ปวดแบบแสบ ๆหรือร้อน ๆ ปวดเรื้อรังมาเป็นเวลานาน  ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวด อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
  2. มีอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
  3. มีอาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่ อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ปวดท้องรุนแรง และช็อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารทะลุหรือลำไส้เล็กทะลุ
  4. มีอาการปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดตันของกระเพาะอาหาร อาการของโรคกระเพาะอาหารจะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค บางรายไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีแผลใหญ่มากในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ บางรายปวดท้องมากแต่ไม่มีแผลเลยก็ได้

การรักษาโรคกระเพาะ

การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ

  1. การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารนั้น มักจะรักษาตามอาการเป็นหลัก ซึ่งหากผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบจากการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร  แพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาคลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) , ยาอะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) หรือยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เพื่อช่วยการฆ่าเชื้อ
  2. ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบจากสาเหตุอื่น ๆ แพทย์ก็จะรักษาไปตามอาการ เพื่อเป็นการประคับประคองและช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น อาทิ จ่ายยาลดกรดในกลุ่มโปรตอน ปั๊ม อินฮิบิเตอร์ (Proton Pump Inhibitors) หรือเอช 2 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนีสต์ (H2-Receptor Antagonist หรือ H2 Blocker) เพื่อช่วยให้เกิดการหลั่งกรดและรักษาแผลที่เกิดในกระเพาะอาหารดีขึ้น
  3. ในกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง จากการรับประทานยาในกลุ่มยาบรรเทาอาการปวด แพทย์ก็จะแนะนำให้หยุดพฤติกรรมการใช้ยาในเบื้องต้น รวมถึงทำการปรับเปลี่ยนยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันให้แทน อีกทั้งแพทย์ ก็จะแนะนำให้หยุดพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้อาการแย่ลง อาทิ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการสูบบุหรี่

โรคกระเพาะภาษาอังกฤษ รักษายังไงดี

การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคกระเพาะ

การดูแลตนเองหลังพบว่าป่วยเป็นโรคกระเพาะถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษในการปฏิบัติตัวหรือวิธีการดูแลตนเอง เพื่อให้อาการของโรคได้บรรเทาหรือเจ็บปวดน้อยที่สุด โดยมีวิธีการดูแลตนเองได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา หากกินข้าวไม่ตรงเวลา แล้วกระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมา มันไม่ได้ไปกัดเยื่อบุกระเพาะอาหารจนเป็นแผล แต่มันจะไปโดนแผลในกระเพาะอาหารจนเกิดอาการระคายเคืองจนปวดแสบท้องได้
  2. รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ดีต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย รวมถึงลดการเกิดแก๊สในกระเพาะและลำไส้ ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง แสบท้องได้ดีเลยทีเดียว
  3. หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น ยาชุด ยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาที่มีสเตียรอยด์ น้ำอัดลม อาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ช็อกโกแลต ชา กาแฟ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ และทำให้อาการป่วยแย่ลงได้
  4. รับประทานยาลดกรด ยาน้ำ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ หรือยาเม็ด 1 – 2 เม็ด (เคี้ยวก่อนกลืน) วันละ 4 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็นหลังอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนนอน กรณีมีอาการปวดท้องก่อนเวลายาสามารถรับประทานเพิ่มได้และควรรับประทานยาติดต่อกันนานอย่างน้อย 4 – 8 สัปดาห์
ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น