โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร เมื่อมีอาการเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดแผล และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ซึ่งปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่มักนิยมใช้กล้วยน้ำว้ารักษาโรคกระเพาะ
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร
- เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ซึ่งเกิดได้จากการรับประทานยาแก้ปวดลดไข้ ซึ่งบางชนิดอาจส่งผลต่อการระคายเคืองกระเพาะอาหาร การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารเผ็ดจัด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การเกิดความเครียด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวน จะทำให้หลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากผิดปกติ
- ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียชนิด pylori (Helicobactor Pylori) ซึ่งเป็นสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคกระเพาะอาหารและการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีการติดเชื้อ และมีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มมากขึ้น 2 – 6 เท่า
บทความแนะนำ ฉีดไขมัน จากเว็บไซต์ Rattinan.com
อาการของโรคกระเพาะอาหาร
- มีอาการปวดบริเวณท้องส่วนบน ตั้งแต่บริเวณใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ
- มีอาการท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย และทำให้เรอบ่อย
- มีอาการปวดแสบร้อน และจุกหน้าอก
- รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
- ไม่มีความอยากอาหาร
- รู้สึกอิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้ไม่มาก
ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็น ๆ แล้วหาย และหากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นนาน ซึ่งอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระปนมูกเลือดหรืออุจจาระเป็นสีดำ หรือมีอาการในช่วงการรับประทานยาสามัญในกลุ่มยาแก้ปวด โดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาระงับอาการปวดข้อ ปวดกระดูกต่าง ๆ ควรรีบพบแพทย์ทันที
การวินิจฉัยโรค
- การทดสอบการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี แต่ส่วนมากแพทย์จะใช้วิธีการส่องกล้องตรวจหาเชื้อมากที่สุด และแพทย์ยังสามารถตรวจพบเชื้อชนิดนี้ได้จากการตรวจเลือด เพื่อตรวจหาภูมิต้านทานที่มีความจำเพาะต่อเชื้อ (Blood antibody test)
- การส่องกล้อง เพื่อตรวจความผิดปกติหรือการอักเสบของระบบทางเดินอาหารส่วนบน เป็นการตรวจโดยการใช้กล้องสอดเข้าไปทางปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
- การเอกซเรย์ระบบทางเดินอาหารส่วนบน ด้วยการกลืนแป้งแบเรียม โดยจะให้ผู้ป่วยดื่มสารทึบรังสีก่อนมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารส่วนบน
และแพทย์ยังมีการส่งตรวจเพิ่มในแบบอื่น ๆ อีก เช่น
- การตรวจอุจจาระ เพื่อหาภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
- การทำงานของตับ เพื่อประเมินดูค่าการแข็งตัวของเลือด
- การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อดูความเข้มข้นของเลือด
ภาวะแทรกซ้อนของ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
โรคกระเพาะอาหารอักเสบสามารถก่อให้เกิดอาการเลือดไหลเรื้อรังในช่องท้อง ทำให้เกิดการเสียเลือดมากผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะโลหิตจางได้ ในบางรายอาจพบโลหิตจางร้ายแรง จากการขาดวิตามิน บี 12 เนื่องจากกระเพาะอาหารไม่สามารถผลิตสาร อินทรินซิค แฟคเตอร์ (Intrinsic Factor) ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการดูดซึมวิตามิน บี12 ได้เพียงพอ และเมื่อการดูดซึมวิตามินบี 12 ทำได้น้อยลง จึงส่งผลต่อภาวะโลหิตจางชนิดนี้
การป้องกัน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การดูแลในเรื่องของความสะอาดของร่างกาย รวมไปถึงการหยุดพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดอาการแย่ลง โดยทำตามคำแนะนำดังนี้
- ก่อนที่จะรับประทานอาหารควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่อาจปะปนเข้าไปในร่างกาย
- เพื่อช่วยให้การหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารเป็นไปตามปกติ ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงหรือมีไขมันมาก
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- เลือกรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ถูกสุขลักษณะ
- หากิจกรรมทำเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียด ซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
- การรับประทานยาปวดข้อ ปวดกระดูก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
การใช้กล้วยน้ำว้ารักษาโรคกระเพาะ
กล้วยน้ำว้าเป็นอาหารที่มีเส้นใย ทำหน้าที่เปรียบเสมือนพนักงานเก็บกวาดขยะที่ตกค้างในลำไส้ได้เป็นอย่างดี และกล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่เกิดมาเพื่อดูแลในเรื่องของท้องไส้ ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องเสีย ท้องผูก เป็นโรคกระเพาะกล้วยน้ำว้าก็รักษาได้
ตำรับยารักษาโรคกระเพาะด้วยกล้วยน้ำว้า
ให้ท่านนำกล้วยดิบฝานเป็นแว่นบาง ๆ อบให้แห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส หรือจะใช้วิธีตากแดดอ่อน ๆ จนกว่าจะแห้ง โดยห้ามใช้ความร้อนที่สูงกว่านี้เด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้สารที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคกระเพาะในกล้วยสูญเสียไป จากนั้นให้นำมาบดเป็นผงแล้วรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา โดยรับประทานก่อนอาหารวันละ 3 เวลา ซึ่งจะผสมกับน้ำหรือน้ำผึ้งก็ได้
บทสรุป
กล้วยน้ำว้ารักษาโรคกระเพาะ เป็นการรักษาตำรับสมุนไพร ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย ในกล้วยยังมีสารอาหารครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ มีทั้งวิตามินเอ บี อี ซี และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อช่วยชะลอวัย กล้วยเป็นผลไม้ที่มีโปรตีน จึงเป็นอาหารสุขภาพสำหรับเด็กและคนทุกเพศทุกวัย