โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection: UTI) จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้ในทุกเพศทุกวัย ดังนั้นเราควรจะหาวิธีรักษาในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบรักษา
สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
สาเหตุหลัก ๆ ของการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล (Escherichia coli: E. coli) โดยที่เชื้อเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การเช็ดก้นในลักษณะจากด้านหลังมาทางด้านหน้า การมีเพศสัมพันธ์ การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือการสวนปัสสาวะ
และอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย แต่มักเกิดขึ้นได้น้อยมาก เช่น เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง การใช้ยา การใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณจุดซ่อนเร้น การฉายรังสีบริเวณกล้ามเนื้อเชิงกราน หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
- การดูแลทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี หรือไม่ถูกต้อง ซึ่งในเพศหญิง ควรเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงลดลงทำให้ความชุ่มชื้นบริเวณเยื่อบุช่องคลอดและเยื่อบุท่อปัสสาวะที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อลดลงตามไปด้วย
- การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
- การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ ทำให้แบคทีเรียชนิดดีที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคถูกกำจัดออกไป จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากควบคุมโรคได้ไม่ดีก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว
อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สังเกตได้ดังนี้
- สีปัสสาวะมีสีขุ่น มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ มีปริมาณน้อย
- รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ
- ปวดปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะมีเลือดปนในบางครั้ง
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักไม่พบอาการที่ชัดเจน แต่อาจมีอาการอ่อนเพลีย อารมณ์หงุดหงิด ความอยากอาหารลดลง และอาเจียน
- ปวดบริเวณท้องน้อย
- มีไข้
การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
แพทย์มักจะทำการวินิจฉัยโรคนี้ได้จากอาการที่แสดง คือ อาการขัดเบา ถ่ายปัสสาวะกะปริบกระปรอย อาจมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจปัสสาวะ โดยการนำปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อซึ่งจะพบเชื้อที่เป็นต้นเหตุ การตรวจเลือด การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy)
ในเด็กเล็กที่มีอาการปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ๆ หรือมีไข้ และอาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรนึกถึงโรคนี้ไว้เสมอ ซึ่งการตรวจปัสสาวะจะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้แน่ชัด
วิธีการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ ประมาณวันละ 3-4 ลิตร การดื่มน้ำจะช่วยขับเชื้อโรคออกจากร่างกาย
- ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะ
- การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหรือภายหลังการขับถ่าย (ในผู้หญิง) ต้องทำจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ
- พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่ควรนั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ
- หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่าง เพราะอาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ได้ยาที่ไม่ตรงกับชนิดของเชื้อโรค
- ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อเป็นการลดโอกาสการติดเชื้อรุนแรง
- ผู้สูงอายุหลายรายเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเนื่องจากนอนหลับนาน ๆ โดยไม่ลุกมาปัสสาวะ จึงไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานผลไม้ที่มีน้ำมาก ๆ ก่อนเข้านอน
- ไม่สวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ การทำความสะอาดด้วยสบู่ธรรมดาก็เพียงพอแล้ว
- หลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปัสสาวะทิ้งและทำความสะอาดร่างกายทันที
- ควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่นเบาหวาน เพราะหากควบคุมไม่ได้ก็จะติดเชื้อซ้ำแล้วซ้ำอีก
การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ไม่ควรกลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีบริเวณอวัยวะเพศ
- ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักทุกวัน
- หลังการมีเพศสัมพันธ์ควรปัสสาวะทิ้ง เพื่อช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
- การเช็ดทำความสะอาดทวารหนัก ควรเช็ดจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายจากทวารหนักไปยังอวัยวะเพศได้ง่าย
- ควรอาบน้ำจากฝักบัว
- ในผู้ชายการขลิบอวัยวะเพศจะช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้
- สวมใส่ชุดชั้นในที่มีเนื้อผ้าระบายได้ดี ไม่กักเก็บความอับชื้น
บทสรุป
กระเพาะปัสสาวะอักเสบรักษา การดูแลตัวเองด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งโรคนี้เมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกรำคาญ เนื่องจากว่าจะมีการปัสสาวะบ่อย และเมื่อปัสสาวะจะรู้สึกแสบบริเวณอวัยวะเพศ ดังนั้นเมื่อเป็นแล้วควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยและรักษา