โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบและการระคายเคืองของเยื่อบุกระเพาะอาหาร และอาการเหล่าอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลันในเวลาอันรวดเร็ว และจะเป็น ๆ หายหากได้รับการรักษาและดูแลก็จะหายไปเองใน 1- 2 สัปดาห์ แต่ในกรณีคนที่เป็นโรคกระเพาะแบบเรื้อรังจะมีอาการปวดแสบ ปวดร้อนในกระเพาะตลอดเวลา และอาการเหล่านี้อาจจะกลายเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารได้หากไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงที
อาการเมื่อเป็นโรคกระเพาะ
โรคกระเพาะจะมีอาการปวดแสบ ปวดร้อน จุกเสียดหรือแน่นใต้ลิ้นปี่ อาการเหล่านี้จะเป็นได้ทั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังรับประทานอาหารหรือแม้แต่เวลาท้องว่าง เช่นเวลาหิวหรือตอนกลางดึกอาการเหล่าก็สามารถเกิดขึ้นได้ อาการปวดจะเป็น ๆ หาย ๆ และเป็นหลายวันติดต่อกันเวลาที่ปวดจะนานประมาณ 10 – 15 นาทีทำให้คนที่เป็นโรคกระเพาะรู้สึกทรมาน และอาการจะทุเลาลงหากได้รับประทานอาหาร ทานนมหรือทานยาลดกรด
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ
โรคกระเพาะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุโดยสามารถแบ่งสาเหตุออกเป็น 3 สาเหตุดังนี้
1. การหลังกรดในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ
อาการเหล่านี้อาจจะเกิดจากความเครียด อารมณ์แปรปรวน การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มชา กาแฟ และการสูบบุหรี่เป็นประจำเป็นต้น
2. เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย
อาการของเยื่อบุอาหารถูกทำลายเกิดจากการกินยาแก้ปวดมากเกินความจำเป็นส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้ และการกินอาหารรสจัดก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เยื่อบุกระเพาะถูกทำลายและเกิดการอักเสบขึ้นได้
3. ติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori (Helicobactor Pylori)
เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหารและมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ผู้ที่ติดเชื้อจะมีโอกาสเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นเพิ่มขึ้น 6-40 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีการติดเชื้อ และมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น 2-6 เท่า
การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ
การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร โดยปกติแล้วผู้ป่วยที่เดินทางมาให้คุณหมอตรวจวินิจฉัย ขั้นแรกคุณหมอจะทำการซักประวัติผู้ป่วยและถามหาอาการที่เป็นเบื้องต้นว่าอาการเป็นอย่างไร หลังจากนั้นจะทำการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดว่าอาการที่แจ้งกับหมอนั้นเป็นอาการของโรคกระเพาะหรือไม่ หลังจากนั้นก็มีการตรวจพิเศษ เช่น การส่องกล้อง การเอกซเรย์ในกระเพาะอาหาร การตรวจเลือด การตรวจอุจจาระ เป็นต้น
การรักษาโรคกระเพาะอาหาร
วิธีการรักษาโรคกระเพาะอาหารแพทย์จะรักษาตามอาการหากผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะและมีการติดเชื้อในกระเพาะหมอจะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อ และในกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะจากสาเหตุอื่น ๆ หมอจะทำการรักษาตามอาการเพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้น เช่นการจ่ายยาลดกรด เพื่อลดการหลั่งกรดช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะเรื้อรังหมอจะให้หยุดยาในเบื้องต้นก่อน และให้ปรับเปลี่ยนยาตัวใหม่ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันแทน และหยุดการดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มชา กาแฟ หรือหยุดสูบบุหรี่เป็นต้น การหยุดดื่มสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้อาการของโรคกระเพาะทุเลาลงได้ การรับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกวันก็สามารถช่วยให้คุณหายจากโรคกระเพาะได้หากโรคที่เป็นนั้นไม่เรื้อรัง
ภาวะแทรกแทรกซ้อนของโรคกระเพาะ
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะส่วนใหญ่จะไม่มีโรคแทรกซ้อน หากไม่ได้เป็นโรคกระเพาะแบบเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดกับคนที่เป็นโรคกระเพาะเรื้อรังคือ
1. มีเลือกออกทางเดินอาหาร
เนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารลึกถึงหลอดเลือดทำให้มีเลือดออก นอกจากอาการปวดท้องแล้วผู้ป่วยยังมีอาการอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำเหนียว หากผู้ป่วยมีเลือกออกในกระเพาะมากจะทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตและหมดสติได้
2. กระเพาะทะลุ
อาการกระเพาะทะลุจะทำให้ผู้ป่วยปวดท้องอย่างเฉียบพลัน หน้าท้องแข็ง และอาจเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษอาการแบบนี้ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
3. ลำไส้อุดตัน
เนื่องจากเป็นแผลเรื้อรังทำให้เกิดพังผืดทำให้ลำไส้เล็กลงอาหารไม่สามารถผ่านไปได้ ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียน ไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม และทำให้จุกเสียดแน่นท้องหายใจไม่ออก หากเป็นมากควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
วิธีป้องกันโรคกระเพาะอาหาร
ไม่อยากเจ็บท้องโรคกระเพาะ หรือไม่อยากกลับมาเป็นอีก จำต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้กลับมาเป็นโรคกระเพาะอีก
- ทานอาหารปริมาณน้อย ๆ แต่ว่าให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา หากหิวก่อนที่จะถึงเวลาให้กินน้ำ
- เลี่ยงของกินที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง น้ำอัดลม กาแฟ ของทอด ของมัน และก็อาหารว่าง เพราะว่าของกินพวกนี้จะก่อให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากกว่าปกติ
- งดดูดบุหรี่ และงดดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกหมวดหมู่ เพราะว่ามีส่วนกระตุ้นให้กรดในกระเพาะหลั่งออกมา
- งดการใช้ยาพาราแอสไพริน และยารักษาโรคข้อกระดูกอักเสบทุกหมวดหมู่ ถ้าหากจำต้องใช้ยากลุ่มนี้ควรจะปรึกษาหมอ
- อย่าเครียด ให้หาวิธีผ่อนคลายความเครียดแล้วก็ความรู้สึกกังวลใจ และพักให้เพียงพอ
- อย่านอนดึก พอยิ่งดึกพวกเราก็จะยิ่งหิว เนื่องจากกรดถูกหลั่งออกมาในท้องมากจนเกินไป ฉะนั้นถ้าเกิดหิวเมื่อไรก็ให้นอนไปเลย อย่ากินอาหาร
- บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ บางทีอาจจะเลือกการเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เพื่อกำจัดความตึงเครียด และก็ยังช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงด้วย
โรคกระเพาะอาหารบางทีอาจไม่ใช่โรคอันตรายรุนแรง แต่ก็เป็นโรคที่เรื้อรัง ที่สำคัญรักษาให้หายสนิทไม่ใช่ว่าจะง่าย ๆ ด้วยเหตุนี้การป้องกันตนเองจากโรคกระเพาะด้วยการดูแลตนเองให้ดีน่าจะเป็นทางที่ดีเยี่ยมที่สุดนะคะ