อาการโรคกระเพาะ

อาการโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องกลางท้องช่วงบน ลักษณะการปวดคือรู้สึกปวดแน่น หรือแสบร้อนสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น หลังรับประทานอาหารอาการปวดท้องจะดีขึ้นหรือแย่ลง บางคนมีอาการอิ่มง่าย อิ่มเร็ว ระยะเวลาของการปวดอาจเป็นวันหรือเป็นเดือน หรือมีลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ โดยส่วนใหญ่ไม่รุนแรงแต่ถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกที่กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ กระเพาะอาหารอุดตัน มะเร็งกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยก็อาจเสียชีวิตได้

ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

  1. มีอาการปวดท้องในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  2. เลือดออกทางเดิน น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาเจียนบ่อย ๆทุกวัน
  3. ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการใช้ยาลดกรดแบบเม็ดเป็นระยะเวลา 4 – 8 สัปดาห์หลังการรักษา
  4. มีอาการเป็น ๆ หาย  ๆบ่อยครั้ง, มีประวัติมะเร็งกระเพาะอาหารหรือทางเดินอาหารของญาติสายตรงลำดับหนึ่ง (ได้แก่ พ่อ, แม่, พี่, น้อง)

อาการโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ

ผลกระทบต่อสุขภาพของโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ  ภาวะขาดน้ำ เป็นภาวะแทรกซ้อนของการอาเจียน หรือท้องร่วงอย่างรุนแรง

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเฉียบพลันมีแตกต่างกันไป หนึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือ การทานอาหารที่ปนเปื้อนไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย อาหารเป็นพิษเป็นสาเหตุหลักที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการกับอาหารไม่เหมาะสม หรือจัดเก็บเป็นเวลานานในอุณหภูมิห้องซึ่งนำไปสู่การเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบจากอาการแพ้ สาเหตุจะเกิดจากการรับประทานอาหาร เช่น ไข่ กุ้ง และปู รวมถึงนมที่จะไปกระตุ้นปฏิกิริยาการแพ้ได้ในบางคน อาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสาร เคมี เช่น ผัก ที่มีสารกำจัดศัตรูพืชมากเกินไป และลำไส้อักเสบ และอาจเป็นได้นานหลายวัน อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ ประกอบไปด้วย ความอยากอาหารลดลง คลื่นไส้ ท้องอืด ปวดท้อง หรือมีไข้ เป็นต้น

อาการโรคกระเพาะ เป็นยังไง

อาหารรักษาโรคกระเพาะอักเสบ

อาหารที่ดีต่อผู้ป่วยโรคกระเพาะ

อาหารแต่ละชนิดที่คนเรารับประทานเข้าไปนั้น ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารและสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารอย่างโรคกระเพาะ ควรเลือกรับประทานอาหารที่ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร  ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการป่วยด้วย ดังนี้

  • อาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร เช่น พืชตระกูลถั่ว แครอท บร็อกโคลี่ ข้าวโอ๊ต แอปเปิ้ล เป็นต้น
  • อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ หรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง อย่างผักชนิดต่าง  ๆ
  • อาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น อกไก่ เนื้อปลา เป็นต้น
  • อาหารที่ปรุงโดยเลือกใช้น้ำมันมะกอกและน้ำมันคาโนลาเป็นหลัก
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล ข้าวกล้อง เป็นต้น
  • เครื่องดื่มที่ไม่อัดแก๊ส และไม่มีคาเฟอีน

อาการโรคเครียดลงกระเพาะ

เครียดลงกระเพาะ แท้จริงแล้วก็คือโรคกระเพาะที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา แต่เป็นการสั่งการของสมองนั่นเอง

โรคกระเพาะอาหารที่มีสาเหตุจากความเครียดมีอาการเหมือนกับโรคกระเพาะที่เกิดจากการกินอาหารผิดเวลา โดยอาการที่มักพบได้บ่อย  ๆ  คือ

  • คลื่นไส้อาเจียนเสียดทรวงอกหลังกินอาหาร
  • ปวดแสบบริเวณช่องท้องและลิ้นปี่แต่จะหายเมื่อได้กิน
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อรู้สึกเหมือนมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก
  • เรอบ่อย ๆ มีกลิ่นเหม็นน้ำย่อย เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์
  • อาเจียนหรือขับถ่ายออกมาเป็นเลือดหรือมีสีดำบ่งบอกว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร รีบพบแพทย์

สัญญาณเตือนเมื่อเครียดเกินไป

บ่อยครั้งที่คนเรามักเครียดโดยไม่รู้ตัว สัญญาณเตือนดังต่อไปนี้ ร่างกายกำลังบอกว่าเครียดมากเกินไป

  • หายใจเร็วรูจมูกขยาย จากการที่ปอดขยายตัวสร้างออกซิเจนสู่กล้ามเนื้อมากขึ้น ต้องการช่องทางเดิน อากาศที่กว้างมากขึ้น ขนลุก เนื่องจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังหดตัว
  • อยากอาหารมากกว่าปกติเนื่องจากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนเร่งการเผาผลาญอาหารออกมามาก ทำให้ร่างกายถูกกระตุ้นจนอยากอาหาร
  • คลื่นไส้เนื่องจากการทำงานของกระเพาะและลำไส้หยุดลง กรดในกระเพาะจึงเพิ่มขึ้น รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ นอนไม่หลับ

รีบรักษาให้ถูกวิธี

แม้โรคเครียดลงกระเพาะอาหารมักเป็นแบบเรื้อรัง แต่หากดูแลรักษาตัวเองอย่างถูกวิธีก็สามารถหายขาดได้ ด้วยวิธีต่าง  ๆ ดังนี้

  • กินอาหารให้เป็นเวลาและครบ 3 มื้อ
  • เลี่ยงอาหารรสจัดอาหารย่อยยาก ของทอด ของดอง
  • งดสูบบุหรี่งดน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาทิ ชา กาแฟ และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟินช่วยคลายเครียด อารมณ์สดใสขึ้น
  • ทำกิจกรรมคลายเครียดให้ร่างกายได้ปลดปล่อยความเครียด ลดอารมณ์แปรปรวนต่าง  ๆ
ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น