โรคกระเพาะอาหารอักเสบนั้น ถือว่าเป็นโรคที่หากเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายขาดนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก เป็นแล้วหาย แล้วก็สามารถกลับมาเป็นได้อีก หากยังไม่มีวิธีดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด เชื่อได้ว่า คุณก็จะอยู่กับโรคกระเพาะอักเสบตลอดไปนั่นเอง ถึงแม้ว่าการรักษาโรคกระเพาะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยทำให้อาการของโรคทุเลาลงได้ ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานมากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยควบคุมอาการของโรคกระเพาะไม่ให้แย่ลงไปจากเดิมได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าการเลือกรับประทานอาหาร มีผลที่ช่วยให้อาการของโรคกระเพาะอักเสบทุเลาลงได้อีกด้วย
อาหารที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอักเสบ
อาหารรักษาโรคกระเพาะอักเสบ ที่คนเรารับประทานเข้าไปนั้น ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารและสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารอย่างโรคกระเพาะ ควรเลือกรับประทานอาหารที่ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการป่วยด้วย ดังนี้
- อาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร เช่น พืชตระกูลถั่ว แครอท บร็อกโคลี่ ข้าวโอ๊ต แอปเปิล เป็นต้น จะช่วยดูดซับน้ำเอาไว้ และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยในการดูดซึมของผนังกระเพาะอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้น
- อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ หรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง อย่างผักชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะสาหร่าย หน่อไม้ฝรั่ง แตงกวา มะเขือเทศ ถั่ว ผักกาด ผักชีฝรั่ง เครื่องเทศ หัวหอม ขึ้นฉ่าย แครอท ฟักทอง มะนาว ส้ม สับปะรด กีวี เชอรี่ สตรอเบอรี่ แตงโม กล้วย แอปเปิล อโวคาโด
- อาหารรักษาโรคกระเพาะอักเสบ ต้องเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น อกไก่ เนื้อปลา เป็นต้น หากเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันอยู่เยอะ อาจทำให้เสี่ยงการการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้
- อาหารที่ปรุงโดยเลือกใช้น้ำมันมะกอกและน้ำมันคาโนลาเป็นหลัก
- ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล ข้าวกล้อง เป็นต้น ทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
- เครื่องดื่มที่ไม่อัดแก๊ส และไม่มีคาเฟอีน อาจทำให้ท้องอืด และปวดท้องเนื่องจากเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
- อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์และยีสต์ในกลุ่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กะหล่ำดอง กิมจิ ชาหมัก โยเกิร์ต เป็นต้น เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า โพรไบโอติกส์อาจช่วยป้องกันโรคติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคกระเพาะและการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
อาหารที่ผู้ป่วยโรคกระเพาะไม่ควรรับประทาน
เนื่องจากการเป็นโรคกระเพาะอาหารนั้น ผู้ป่วยจะรู้สึกทรมานเป็นอย่างมาก ในเวลาที่อาการของโรคสำแดงฤทธิ์เดชออกมา ซึ่งหากผู้ป่วยยังไม่ดูแลในเรื่องอาหารการกิน ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบมากที่สุด ทำให้อาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร ไม่ควรรับประทาน มีรายละเอียดดังนี้
- อาหารรสจัด
อาหารที่มีรสจัด ได้แก่ อาหารที่มีรสเผ็ด เปรี้ยวจัด หวานจัด เค็มจัด อาหารเหล่านี้จะไปช่วยกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตน้ำย่อยออกมามากขึ้น ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณกระเพาะอาหาร ทำให้มีอาการปวดท้อง จุกเสียดได้
- ชา กาแฟ ช็อกโกแลต
ผู้ป่วยควรงดการดื่มชา-กาแฟ เนื่องจากเครื่องดื่มประเภทนี้มีคาเฟอีนผสมอยู่ จะทำให้เกิดการกระตุ้นให้กระเพาะผลิตน้ำย่อยออกมามากขึ้น ทำให้รู้สึกแสบท้องได้ ซึ่งอาจทำให้อาการของโรคกระเพาะกำเริบได้
- น้ำอัดลม
น้ำอัดลมทุกชนิดก็มีคาเฟอีนผสมอยู่ในจำนวนไม่น้อย อีกทั้งในน้ำอัดลมยังมีแก๊สที่ส่งผลให้เกิดอาการแน่นท้องเนื่องจากแก๊สในกระเพาะเยอะ ต้นเหตุของอาหารท้องอืด ท้องเฟ้อร่วมด้วย โดยเฉพาะคนที่ดื่มน้ำอัดลมในขณะท้องว่าง อาการแสบท้อง แน่นท้อง อันเป็นหนึ่งในอาการของโรคกระเพาะ ก็จะมาเยือนคุณอย่างแน่นอน
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารจึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ท้องว่าง ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยโรคกระเพาะเป็นอย่างมาก อาจเกิดอาการแสบท้อง อย่างทรมานเป็นอย่างมาก
- อาหารไขมันสูง ของทอด
อาหารไขมันสูง เป็นอาหารที่ย่อยยากมาก หากผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะทานเข้าไป อาจทำให้กระเพาะต้องหลั่งน้ำย่อยออกมาในปริมาณที่มากขึ้น ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด แสบท้อง เนื่องจากมีกรดในกระเพาะอาหาร
- ของหมักดอง
อาหารประเภทหมักดองมีความเป็นกรดซ่อนอยู่ หากผู้ป่วยยังมีการรับประทานอาหารเหล่านี้อยู่ จะไปกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย ทำให้กระเพาะอาหารเกิดความระคายเคืองขึ้นได้
- ผลิตภัณฑ์จากถั่ว
สำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์หรืออาหารจากถั่วทุกชนิดไปก่อน เพราะเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้เช่นกัน
- ผักดิบ
ผักถือว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีส่วนช่วยให้ระบบลำไส้และการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น แต่ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารควรทานผักที่ผ่านการทำให้สุกแล้ว เพราะการทานผักดิบ อาจเพิ่มแก๊สในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้อาการของโรครุนแรงเพิ่มมากขึ้นได้
- เนื้อสัตว์สุก ๆ ดิบ ๆ
การรับประทานเนื้อสัตว์สุก ๆ ดิบ ๆ นั้น ทำให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารเหล่านี้ได้ยากขึ้น น้ำย่อยก็จะหลั่งออกมามากกว่าปกติ ใช้เวลาในการย่อยอาหารนาน กระเพาะอาจเกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน