อาการโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องกลางท้องช่วงบน ลักษณะการปวดคือรู้สึกปวดแน่น หรือแสบร้อนสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น หลังรับประทานอาหารอาการปวดท้องจะดีขึ้นหรือแย่ลง บางคนมีอาการอิ่มง่าย อิ่มเร็ว ระยะเวลาของการปวดอาจเป็นวันหรือเป็นเดือน หรือมีลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ โดยส่วนใหญ่ไม่รุนแรงแต่ถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกที่กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ กระเพาะอาหารอุดตัน มะเร็งกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยก็อาจเสียชีวิตได้
ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
- มีอาการปวดท้องในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- เลือดออกทางเดิน น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาเจียนบ่อย ๆทุกวัน
- ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการใช้ยาลดกรดแบบเม็ดเป็นระยะเวลา 4 – 8 สัปดาห์หลังการรักษา
- มีอาการเป็น ๆ หาย ๆบ่อยครั้ง, มีประวัติมะเร็งกระเพาะอาหารหรือทางเดินอาหารของญาติสายตรงลำดับหนึ่ง (ได้แก่ พ่อ, แม่, พี่, น้อง)
อาการโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ
ผลกระทบต่อสุขภาพของโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ ภาวะขาดน้ำ เป็นภาวะแทรกซ้อนของการอาเจียน หรือท้องร่วงอย่างรุนแรง
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเฉียบพลันมีแตกต่างกันไป หนึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือ การทานอาหารที่ปนเปื้อนไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย อาหารเป็นพิษเป็นสาเหตุหลักที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการกับอาหารไม่เหมาะสม หรือจัดเก็บเป็นเวลานานในอุณหภูมิห้องซึ่งนำไปสู่การเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบจากอาการแพ้ สาเหตุจะเกิดจากการรับประทานอาหาร เช่น ไข่ กุ้ง และปู รวมถึงนมที่จะไปกระตุ้นปฏิกิริยาการแพ้ได้ในบางคน อาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสาร เคมี เช่น ผัก ที่มีสารกำจัดศัตรูพืชมากเกินไป และลำไส้อักเสบ และอาจเป็นได้นานหลายวัน อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ ประกอบไปด้วย ความอยากอาหารลดลง คลื่นไส้ ท้องอืด ปวดท้อง หรือมีไข้ เป็นต้น
อาหารรักษาโรคกระเพาะอักเสบ
อาหารที่ดีต่อผู้ป่วยโรคกระเพาะ
อาหารแต่ละชนิดที่คนเรารับประทานเข้าไปนั้น ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารและสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารอย่างโรคกระเพาะ ควรเลือกรับประทานอาหารที่ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการป่วยด้วย ดังนี้
- อาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร เช่น พืชตระกูลถั่ว แครอท บร็อกโคลี่ ข้าวโอ๊ต แอปเปิ้ล เป็นต้น
- อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ หรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง อย่างผักชนิดต่าง ๆ
- อาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น อกไก่ เนื้อปลา เป็นต้น
- อาหารที่ปรุงโดยเลือกใช้น้ำมันมะกอกและน้ำมันคาโนลาเป็นหลัก
- ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล ข้าวกล้อง เป็นต้น
- เครื่องดื่มที่ไม่อัดแก๊ส และไม่มีคาเฟอีน
อาการโรคเครียดลงกระเพาะ
เครียดลงกระเพาะ แท้จริงแล้วก็คือโรคกระเพาะที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา แต่เป็นการสั่งการของสมองนั่นเอง
โรคกระเพาะอาหารที่มีสาเหตุจากความเครียดมีอาการเหมือนกับโรคกระเพาะที่เกิดจากการกินอาหารผิดเวลา โดยอาการที่มักพบได้บ่อย ๆ คือ
- คลื่นไส้อาเจียนเสียดทรวงอกหลังกินอาหาร
- ปวดแสบบริเวณช่องท้องและลิ้นปี่แต่จะหายเมื่อได้กิน
- ท้องอืด ท้องเฟ้อรู้สึกเหมือนมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก
- เรอบ่อย ๆ มีกลิ่นเหม็นน้ำย่อย เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์
- อาเจียนหรือขับถ่ายออกมาเป็นเลือดหรือมีสีดำบ่งบอกว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร รีบพบแพทย์
สัญญาณเตือนเมื่อเครียดเกินไป
บ่อยครั้งที่คนเรามักเครียดโดยไม่รู้ตัว สัญญาณเตือนดังต่อไปนี้ ร่างกายกำลังบอกว่าเครียดมากเกินไป
- หายใจเร็วรูจมูกขยาย จากการที่ปอดขยายตัวสร้างออกซิเจนสู่กล้ามเนื้อมากขึ้น ต้องการช่องทางเดิน อากาศที่กว้างมากขึ้น ขนลุก เนื่องจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังหดตัว
- อยากอาหารมากกว่าปกติเนื่องจากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนเร่งการเผาผลาญอาหารออกมามาก ทำให้ร่างกายถูกกระตุ้นจนอยากอาหาร
- คลื่นไส้เนื่องจากการทำงานของกระเพาะและลำไส้หยุดลง กรดในกระเพาะจึงเพิ่มขึ้น รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ นอนไม่หลับ
รีบรักษาให้ถูกวิธี
แม้โรคเครียดลงกระเพาะอาหารมักเป็นแบบเรื้อรัง แต่หากดูแลรักษาตัวเองอย่างถูกวิธีก็สามารถหายขาดได้ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
- กินอาหารให้เป็นเวลาและครบ 3 มื้อ
- เลี่ยงอาหารรสจัดอาหารย่อยยาก ของทอด ของดอง
- งดสูบบุหรี่งดน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาทิ ชา กาแฟ และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟินช่วยคลายเครียด อารมณ์สดใสขึ้น
- ทำกิจกรรมคลายเครียดให้ร่างกายได้ปลดปล่อยความเครียด ลดอารมณ์แปรปรวนต่าง ๆ