ยาแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากพบว่ามีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ ให้รีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที สามารถรักษาให้หายได้ และต้องอาศัยวิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยด้วย เพื่อให้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้หายและไม่กลับมาเป็นอีก ถือเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ในเวลาไม่นาน ในบางรายสามารถดูแลและรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ด้วยตนเองได้ที่บ้าน โดยไม่ต้องพึ่งทางการแพทย์ แต่ทั้งนี้คุณไม่ควรจะคิดว่าเมื่อคุณเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบกินยาอะไรแล้วจะหายขาด คุณควรหลีกเลี่ยงใช้วิธีการให้ยาปฏิชีวนะโดยเด็ดขาด หากคุณยังไม่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่รุนแรงและไม่ต้องการพบแพทย์แต่อย่างใด ถือเป็นวิธีที่สามารถทำให้คุณหายจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้เช่นกัน หากมีวิธีดูแลตนเองหรือบางรายที่ต้องใช้ยาแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้เป็นอย่างดี

ยาแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การบำบัดรักษาทางเลือก

กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือ Cystitis รักษาได้หลากหลายวิธี การบำบัดรักษาทางเลือกนั้นเป็นวิธีการที่ไม่ใช้การผ่าตัดในการรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในบางครั้งจะใช้วิธีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะด้วยของเหลวหรือแก๊สเพื่อทำให้กระเพาะอักเสบอาการดีขึ้น การกระตุ้นประสาทสามารถทำให้ความถี่ในการต้องการเข้าห้องน้ำลดลงและสามารถบรรเทาอาการปวดอุ้งเชิงกรานได้ สำหรับกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการได้รับบำบัดรังสีวิทยาและบำบัดด้วยเคมี การให้ยาสามารถขับสิ่งเหล่านี้ออกทางปัสสาวะได้ แต่ทั้งนี้ยาที่ให้นั้นไม่ใช่ยาแก้กระเพาะอักเสบโดยตรง เป็นเพียงแต่การใช้รักษาในทางอ้อม

ยารักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สำหรับยาแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบที่ถูกใช้อย่างกว้างขวางนั้นคือ ยาปฏิชีวนะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรังสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ทั้งนี้การให้ยาปฏิชีวนะนั้นก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ได้วินิจฉัยโรค ไม่ควรซื้อยามาทานเอง เพราะอาจทำให้อาการของโรคหายช้ากว่าปกติ หรือมีอาการดื้อยา

ยาแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยี่ห้อไหนดี

วิธีรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การดูแลตนเองในเบื้องต้นเมื่อเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้

  1. ควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ ประมาณวันละ 3-4 ลิตร เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม (เช่น โรคหัวใจล้มเหลว) ซึ่งการดื่มน้ำจะช่วยขับเชื้อโรคออกและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้
  2. ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะ
  3. หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ใส่น้ำตาล
  4. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่ควรนั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ
  5. การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหรือภายหลังการขับถ่าย (ในผู้หญิง) ต้องทำจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ
  6. ในผู้หญิงไม่ควรใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิหรือการใช้ฝาครอบปากมดลูก เพราะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  7. ไม่ควรใช้สเปรย์หรือยาดับกลิ่นตัวในบริเวณอวัยวะเพศ เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
  8. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่าง เพราะอาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  9. ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และลดโอกาสการติดเชื้อรุนแรง
  10. ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ได้ยาที่ไม่ตรงกับชนิดของเชื้อโรค หรือขนาดและระยะเวลาในการใช้ยาไม่ถูกต้อง จึงอาจส่งผลให้โรคไม่หาย และอาจกลายเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังจากเชื้อดื้อยาได้
  11. ในขณะที่มีอาการให้ดื่มน้ำมาก ๆ ถ้าปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ และรับประทานยาปฏิชีวนะพื้นฐาน เช่น โคไตรม็อกซาโซล (Co-trimoxazole) 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน หรืออะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง หรือวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 3 วัน แต่ถ้าสงสัยว่ามีการแพ้ยาหรือดื้อยาเหล่านี้ก็อาจให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เช่น นอร์ฟล็อกซาซิน (Norfloxacin) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง นาน 3 วัน, โอฟล็อกซาซิน (Ofloxacin) ครั้งละ 200 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน หรือไซโพรฟล็อกซาซิน (Ciprofloxacin) ครั้งละ 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน แต่ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนนี้ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัย
  12. ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ และควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม (เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด, มีอาการไข้ หนองไหล ตกขาว ถ่ายเป็นเลือด หรือกระหายน้ำบ่อยร่วมด้วย) หรืออาการต่าง ๆ เลวร้ายลง/อาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากดูแลตัวเองมา 2-3 วัน หรือเป็น ๆ หาย ๆ อยู่บ่อย ๆ (เป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง) หรือเมื่อมีความกังวลในอาการ/ไม่มั่นใจที่จะดูแลรักษาตนเอง หรือพบว่ามีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้ชาย (อาการขัดเบา) แม้ว่าจะเริ่มเป็นครั้งแรกก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด แล้วรักษาไปตามสาเหตุที่ตรวจพบ
ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น