สาว ๆ สมัยนี้ต้องการที่จะมีรูปร่างที่ผอมเพรียว เอวเอส หากสาว ๆ กำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโรคอ้วน และไม่สามารถลดน้ำหนักได้ ซึ่งบางคนใช้วิธีควบคุมอาหาร และออกกำลังกายไปควบคู่กันก็ยังไม่สามารถทำให้น้ำหนักตัวเองลดลงได้ จึงต้องหาวิธีที่เป็นทางลัดด้วยการ ผ่าตัดกระเพาะอาหาร เพื่อให้ขนาดของกระเพาะมีขนาดเล็กลง
ผู้ใดควรได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
ในการผ่านั้นใช่ว่าคนอ้วนจะผ่าตัดกันได้ทุกคน เนื่องจากว่าแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดโดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยในคนปกติ BMI จะอยู่ที่ 18.5-24.9 กก./ตร.ม. คนที่มี BMI มากกว่า
30 กก./ตรม. ขึ้นไปถือว่าเป็นคนอ้วน หากค่าBMI ที่ 40 กก./ตร.ม. ขึ้นไปถือเป็นโรคอ้วน
ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดควรมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กก./ตรม. เพราะคนกลุ่มนี้จะรักษาด้วยวิธีการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายหรือทานยาไม่ได้ผล ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็จะกลับมาอ้วนอีก การผ่าตัดเท่านั้นจะช่วยให้คนกลุ่มนี้มีน้ำหนักลดลงได้ในระยะยาว ซึ่งไม่ได้มีผลกับเรื่องน้ำหนักตัวอย่างเดียว ยังช่วยในเรื่องของอาการโรคเบาหวานและความดันโลหิตได้ด้วย
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- แพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด
- แพทย์จะทำการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารให้มั่นใจว่าไม่มีความผิดปกติใด ๆ
- นักโภชนาการจะเตรียมความพร้อมด้านโภชนา โดยจะมีประเมินและการปรับการรับประทานอาหารหลังทำการผ่าตัด
- ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดจะต้องผ่านการทดสอบสภาพจิตใจกับนักจิตวิทยา เพื่อมั่นใจว่าไม่มีโรคทางจิตเวช
- ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องได้รับการประเมินภาวะโรคที่มีความเสี่ยงก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องรับการตรวจการนอนหลับ STOP-BANG และตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ Sleep Test
- ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรงดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 4 สัปดาห์
- ผู้เข้ารับการผ่าตัดต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการผ่าตัด 6 – 8 ชั่วโมง
- ก่อนเข้ารับการผ่าตัด 2 สัปดาห์ จะต้องหยุดรับประทานยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน และอาหารเสริม เช่น วิตามินอี น้ำมันตับปลา
- เรียนรู้วิธีออกกำลังก่อนและหลังผ่าตัดอย่างถูกต้องกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- ก่อนเข้ารับการผ่านตัดจะได้รับการฉีดยาเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
- หากท่านรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
ภาวะแทรกซ้อนเมื่อเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
- มีเลือดออก
- มีการติดเชื้อ
- ทางเดินอาหารรั่ว
- ต้องเข้ารับการผ่าตัดใหม่
หากคุณเข้ารับการผ่าตัดกับสถานพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานและมีแพทย์ที่มีความชำนาญ ภาวะแทรกซ้อนก็อาจเกิดขึ้นได้น้อยลง ซึ่งจะมีการติดตามอาการของผู้เข้ารับการผ่าตัดอย่างสม่ำเสมอ และหากเกิดภาวะแทรกซ้อนอาการที่เกิดขึ้นจะได้แก่ มีเลือดอุดตันที่เท้า ปอด หัวใจ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรืออาจเกิดโรคปอดบวมได้ ซึ่งจะคล้ายกับการทำผ่านตัดทั่วไป
แนะนำบทความยอดนิยม ปลูกผม จากเว็บไซต์ Rattinan.com
การดูแลหลังผ่าตัด
- ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องได้รับสารอาหารและน้ำทางสายน้ำเกลือจนกว่าจะรับประทานอาหารเองได้
- ใส่ปลอกสวมขาเพื่อป้องกันภาวะแข็งตัวในเส้นเลือดดำ โดยถอดออกเมื่อผู้ป่วยขยับตัวได้เอง และเมื่อขยับตัวได้ควรเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็ว เพื่อให้ทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติภายใน 2-3 วัน
- หากมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ปรึกษาแพทย์ทันที
- ควบคุมอาหารตามที่นักโภชนาการอาหารวางแผนและให้คำปรึกษาอย่างเคร่งครัด
- การรับประทานอาหารหลังผ่าตัด แบ่งออกเป็น
- หลังผ่าตัดสัปดาห์แรกรับประทานได้เฉพาะอาหารเหลวครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย
- หลังผ่าตัดสัปดาห์ที่ 3 รับประทานอาหารชิ้นเล็ก ๆ โดยดื่มน้ำก่อนทานอาหาร 15-30 นาที เพื่อเตรียมปรับตัวเข้าสู่การทานอาหารปกติ โดยทานปริมาณน้อย เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
- หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ สามารถเริ่มออกกำลังเบาๆ ได้ และงดยกของหนัก 3 เดือน
- พบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัดเพื่อตรวจเช็คร่างกาย
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
- ท่านควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อต่อวัน และห้ามทานจุบจิบ
- เมื่อรู้สึกอิ่มให้หยุดรับประทานทันที
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
- ดื่มน้ำเปล่าระหว่างมื้อบ่อย ๆ โดยจิบทีละน้อย เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
- ไม่ควรดื่มน้ำอัดลม กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำหวาน
- เน้นทานอาหารโปรตีนสูงอย่างเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นประเภทแป้งและไขมัน
- ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
บทสรุป
การผ่าตัดกระเพาะอาหารเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาสุขภาพ ไม่ใช่การผ่าตัดเพื่อรักษาความสวยงาม อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด ไม่มีการควบคุมพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ท่านอาจกลับมาอ้วนได้เช่นเดิมอีก