ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร มีอาการแบบไหน รักษาอย่างไร

หากท่านมีอาการอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางรายอาจมีอาการอิ่มเร็วหลังรับประทานอาหาร หรือมีอาการหิวมากในตอนเช้าที่ตื่นนอน อาจเกิดจากการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ซึ่งเป็นการติดเชื้อในกระเพาะอาหารก็เป็นได้
ทำความรู้จักกับ เชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ
H. Pylori (Helicobacter Pylori) หรือเชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร ติดต่อระหว่างคนสู่คน

โดยที่เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่บางรายเชื้ออาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นรวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย

ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร

การติดเชื้อในกระเพาะอาหารติดได้โดยการกินเชื้อโรคเข้าไป การกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคตัวนี้ หรือติดจากเนื้อเยื่อคัดหลั่ง สารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนแล้วกินเข้าไป เช่น การคลอดลูก แล้วลูกได้รับเชื้อจากแม่ อันนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง แต่แน่ ๆ คือ ได้รับเชื้อโรคโดยการกินเข้าไปซึ่งตอบไม่ได้ว่าอาหารเหล่านั้นติดมากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญก็คือ หากมีอาการปวดอุจจาระ แน่นท้อง ก็อาจจะมาจากสาเหตุเชื้อโรคตัวนี้ได้

สาเหตุของการติดเชื้อเอชไพโลไร
ปัจจุบันยังหาสาเหตุของการติดเชื้อ H. Pylori ได้ไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการสัมผัสเชื้อและนำเข้าปากแบบไม่รู้ตัว รวมถึงการบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งสามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้กับทุกเพศทุกวัย โดยที่เมื่อมีเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori เข้ามาในร่างกายเรา

เมื่อเชื้อตัวนี้เข้าสู่ร่างกาย  ร่างกายก็พยายามจะกำจัดเชื้อแบคทีเรียนี้ ด้วยการส่งเม็ดเลือดขาว และสร้างแอนติบอดี/สารภูมิต้านทาน (Antibody) เพื่อทำลายแบคทีเรียนี้ แต่ก็ไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียนี้ได้ เนื่องจากเชื้อ H. Pylori มีอยู่หลายชนิดย่อย

ขณะเดียวกับเชื้อตัวนี้ก็จะเข้าไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลงจนไม่สามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้

การตรวจหาเชื้อมีวิธีการตรวจอย่างไร
แพทย์จะทำการตรวจเพื่อหาสาเหตุของอาการให้แน่ชัด ในส่วนของการตรวจหาเชื้อ H. Pylori สามารถทำได้โดย

  • การส่องกล้องEndoscopy โดยใช้ท่อที่ต่อกล้องลงไปในทางเดินอาหารซึ่งวิธีนี้สามารถนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจได้ด้วย (biopsy) เพื่อใช้ตรวจหาเชื้อ pylor โดยแพทย์จะสอดอุปกรณ์ที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่บริเวณส่วนปลายเข้าไปทางปากเพื่อตรวจดูความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
  • การตรวจลมหายใจผู้ป่วยต้องรับประทานสารที่มีส่วนประกอบของโมเลกุลคาร์บอน จากนั้นแพทย์จะให้ผู้ป่วยหายใจใส่ถุง แล้วนำตัวอย่างลมหายใจไปตรวจหาร่องรอยของการติดเชื้อที่ออกมากับแอมโมเนียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • การตรวจอุจจาระเป็นการเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อตรวจหาสารภูมิต้านทานหรือแอนติเจน ซึ่งบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย Pylori
  • การตรวจเลือดเป็นการตรวจหาสารภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อ วิธีนี้จำเป็นต้องใช้ผลจากการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ ประกอบร่วมกับการวินิจฉัยด้วย
รักษาอาการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร ได้อย่างไร

สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร และการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย โดยแพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาร่วมกันอย่างน้อย 2 – 3 ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อมากขึ้น

โดยหลังจากการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อซ้ำภายในเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ เพื่อติดตามผลการรักษา หากพบว่ายังมีการติดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยจะต้องรักษาซ้ำ โดยเปลี่ยนยาตามอาการของแต่ละบุคคล เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจมีการดื้อยาเกิดขึ้น

ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร รักษายังไง

การดูแลตนเองและการป้องกัน มีวิธีอย่างไร
วิธีที่ง่ายและสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยตัวเองคือ การดูแลสุขอนามัยที่ดี เพื่อช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อลงได้ เช่น ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำ และก่อนจัดเตรียมหรือรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร และน้ำที่ไม่สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไม่สุก ลดการรับประทานอาหารที่มีรสจัด

การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ รวมถึงเลิกสูบบุหรี่นอกจากนี้ ในส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเชื้อ H. pylori และได้รับยาปฏิชีวนะรักษา ควรรับประทานยาให้ครบตามจำนวนวันที่กำหนด ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ หากรับประทานยาไม่หมดหรือไม่ครบจะทำให้เสี่ยงต่อการดื้อยา ทำให้การรักษาอาจไม่ได้ผล

บทสรุป

ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก เมื่อออกจากห้องน้ำควรล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด และควรลดการรับประทานอาหารที่มีรสจัด เมื่อท่านปฏิบัติได้ตามนี้ท่านก็จะมีสุขภาพที่ดีและปลอดภัยจากเชื้อโรค

ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น