ผ่าตัดกระเพาะ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร หลังจากศัลยกรรม

การผ่าตัดกระเพาะจุดมุ่งหมายก็เพื่อเป็นการรักษาโรคอ้วน (Bariatric Surgery) ซึ่งคนที่เป็นโรคอ้วนนี้จะมีการใช้ชีวิตที่ลำบากและอาจมีโรคแทรกซ้อนหลายโรค เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็งหลาย ๆ รูปแบบ โรคตับ มีบุตรยาก และอื่น ๆ อีกมากมาย

นอกจากการผ่าตัดจะช่วยควบคุมโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนแล้ว ยังช่วยควบคุมน้ำหนักในระยะยาวได้ผลดีที่สุด การผ่าตัดนั้นไม่ได้เพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวแต่ก็เพื่อสุขภาพและคุณภาพที่ดีขึ้น

ในการผ่าตัดผ่านกล้องนั้นก็เพื่อเป็นการลดขนาดของกระเพาะอาหารให้เล็กลง จึงช่วยจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทานและทำให้ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักมีหุ่นและรูปร่างที่ดี และยังช่วยให้ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากเกินไปใช้ชีวิตไปไหนมาไหนได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถออกกำลังกายได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น จึงทำให้ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดมีสุขภาพจิตดีไปด้วยไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครมาล้อในเรื่องของน้ำหนักตัว

ผ่าตัดกระเพาะ

ผู้ที่เข้าข่ายต้องเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะ

  • ต้องเป็นผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 5 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นโรคอ้วน และหากไม่เข้าข่ายว่าเป็นโรคอ้วนหากผ่าตัดแล้วจะได้ไม่คุ้มกับความเสี่ยง
  • หากพยายามด้วยวิธีการออกกำลังกายแล้วไม่ประสบความสำเร็จ การผ่าตัดกระเพาะอาหารก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก
  • ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดจะต้องมีความเข้าใจในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เมื่อทำการผ่าตัดแล้วจะกินได้น้อยลงจากที่เคยรับประทานเป็นชาม ๆ ก็จะกินได้แค่ 3 – 4 ช้อน ต้องเลือกกิน เลือกดื่มและต้องติดตามการรักษาเป็นระยะตลอดไป ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อจิตใจและร่างกาย

ในการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของกระเพาะอาหารนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมตัวทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

การเตรียมก่อนผ่าตัด

  • ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด เช่น ตรวจเลือด อัลตราซาวด์ เอ็กซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสมรรถภาพของปอด เป็นต้น
  • ก่อนที่จะทำการผ่าตัดแพทย์จะทำการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีความผิดปกติใด ๆ ของกระเพาะอาหาร
  • จะต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการจากนักโภชนาการอาหาร โดยจะมีประเมินและการปรับการรับประทานอาหารหลังทำการผ่าตัด
  • นักจิตวิทยาจะทำการทดสอบสภาพจิตใจ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีโรคทางจิตเวชสำคัญที่ห้ามทำการผ่าตัด และเตรียมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังผ่าตัด
  • เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นจะต้องมีการประเมินภาวะโรคที่มีความเสี่ยงก่อนผ่าตัด เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • จะต้องมีการตรวจการนอนหลับ STOP-BANG และตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ Sleep Test
  • จะต้องเรียนรู้วิธีออกกำลังกายก่อนและหลังผ่าตัดอย่างถูกต้องกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ก่อนผ่าตัด 4 สัปดาห์ ควรงดสูบบุหรี่
  • ก่อนการผ่าตัด 6 – 8 ชั่วโมง ท่านจะต้องงดน้ำและอาหาร
  • ก่อนการผ่าตัดท่านต้องหยุดรับประทานอาหารเสริม และยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน วิตามินอี น้ำมันตับปลา
  • ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับยาฉีดป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันก่อนการผ่าตัดกระเพาะอาหาร 12 ชั่วโมง

ผ่าตัดกระเพาะ ทำยังไง

 การดูแลตัวเองหลังทำการผ่าตัด

  • ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องรับสารอาหารและน้ำทางสายน้ำเกลือจนกว่าจะรับประทานอาหารเองได้
  • แพทย์จะทำการใส่ปลอกสวมขาเพื่อป้องกันภาวะแข็งตัวในเส้นเลือดดำ โดยจะถอดออกได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยขยับตัวได้เอง และเมื่อขยับตัวได้ควรเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้ทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติภายใน 2-3 วัน
  • หากมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ต้องปรึกษาแพทย์ทันที เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ > 120 ครั้ง ต่อนาที มีไข้ หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
  • ควบคุมอาหารตามที่นักโภชนาการได้มีการวางแผนและให้คำปรึกษาอย่างเคร่งครัด
การรับประทานอาหารหลังผ่าตัด แบ่งออกเป็น
  • หลังผ่าตัดสัปดาห์แรกรับประทานได้เฉพาะอาหารเหลวครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งที่ต้องการ
  • หลังผ่าตัดสัปดาห์ที่ 3 รับประทานอาหารชิ้นเล็ก ๆ ได้ โดยดื่มน้ำก่อนทานอาหาร 15 – 30 นาที เช่น ข้าวต้ม เป็นต้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับประทานอาหารปกติ โดยทานปริมาณน้อย เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
  • หลังจากผ่าตัดสัปดาห์ที่ 2สามารถเริ่มออกกำลังกายเบา ๆ ได้ และงดยกของหนัก 3 เดือน
  • พบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัดเพื่อตรวจเช็คร่างกาย
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร
  • หยุดรับประทานอาหารทันทีที่รู้สึกอิ่ม
  • เพื่อเป็นการป้องกันการขาดน้ำ ควรดื่มน้ำเปล่าระหว่างมื้อบ่อย ๆ โดยทำการจิบทีละน้อย
  • ไม่ควรดื่มน้ำอัดลม กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำหวาน
  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและไขมัน
  • เน้นรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงอย่างเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • ควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 ครั้ง

บทสรุป

ผ่าตัดกระเพาะ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วนที่ต้องการให้ตัวเองมีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี เพื่อให้ท่านปลอดภัยจากโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และยังเป็นการผ่าตัดเพื่อควบคุมน้ำหนักในระยะยาวด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้เข้ารับการรักษาด้วย

ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น