โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) เป็นโรคที่เกิดจากมีการอักเสบ บวม แดง ของเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในระยะเวลาอันรวดเร็ว หรือมีอาการบ่อยเป็นเวลานานจนเกิดการอักเสบเรื้อรังเกิดแผลและเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคทางกระเพาะอาหารได้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดแสบปวดร้อนหรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เช่น จะปวดเวลาหิวซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง มักมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
สาเหตุของการเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่ม กาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โคล่า เครื่องดื่มชูกำลัง มักทำให้อาการรุนแรงขึ้น จากการก่อการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกกระเพาะอาหาร และกระตุ้นให้เซลล์เยื่อเมือกสร้างกรดเพิ่มขึ้น
- ความเครียด เพราะจะกระตุ้นให้เซลล์กระเพาะอาหารหลั่งกรดเพิ่มขึ้น ซึ่งกรดจะก่อการระคายเคือง และ การอักเสบต่อเซลล์เยื่อเมือกบุกระเพาะอาหาร
- กินยาต้านการอักเสบ หรือยาแก้ปวดกลุ่มเอนเสดส์ (NSAIDs,Non-steroidal anti-inflammatory drugs) โดยเฉพาะการกินยาอย่างต่อเนื่อง เช่น แอสไพริน Ibuprofen Celecoxib และ Indomethacin หรือ ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) ซึ่งยาในกลุ่มดังกล่าวจะก่อการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะอาหาร ก่อการอักเสบ และก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (โรคแผลเปบติค)
กระเพาะอาหารอักเสบ กี่วันหาย
โรคแผลกระเพาะอาหารเป็นโรคเรื้อรัง เป็น ๆ หาๆ มักไม่หายขาด ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อน ใน 3-7 วัน แต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ใช้เวลาถึง 4-8 สัปดาห์ แผลจึงหาย เมื่อหายแล้ว จะกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ผู้ป่วยควรกินอาหารอ่อน ๆ กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด สุรา กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน ต้องรีบไปพบแพทย์
กระเพาะอาหารอักเสบ ปวดหลัง
ปวดท้องแล้วร้าวมาบริเวณหลัง หรือปวดท้องทะลุหลัง สาเหตุที่พบบ่อยคือ กระเพาะอาหารอักเสบ มีแผลกระเพาะอาหาร สาเหตุที่พบได้น้อยกว่ามาก เช่น ตับอ่อนอักเสบ (ซึ่งมักพบในคนดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นประจำหรือมีนิ่วในถุงน้ำดี) เป็นเนื้องอกหรือมะเร็งในกระเพาะอาหาร เนื้องอกหรือมะเร็งที่ตับอ่อน เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- ส่วนใหญ่โรคกระเพาะมักจะไม่มีโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยบางรายมีโรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
- เลือดออกทางเดินอาหาร เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารกินลึกถึงหลอดเลือดทำให้มีเลือดออก นอกจากอาการปวดท้องแล้วผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือดสด หรือสีดำเหมือนน้ำโค้ก
- กระเพาะทะลุ เนื่องจากแผลจะกินลึกจนทะลุเข้าช่องท้อง ผู้ป่วยจะปวดท้องอย่างเฉียบพลันปวดมาก หน้าท้องแข็ง เกิดการอักเสบในช่องท้อง peritonitis และอาจจะเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ เป็นภาวะรีบด่วนต้องรีบพบแพทย์
- ลำไส้อุดตัน เนื่องจากเป็นแผลเรื้อรังจะทำให้เกิดผังพืดทำให้รูของลำไส้เล็กลงอาหารไม่สามารถผ่านไปได้ ป่วยจะเกิดอาเจียน ไม่ผายลม ไม่ถ่ายอุจจาระ อาเจียนเป็นอาหารที่รับประทานเข้าไป
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ
หลาย ๆ คน เข้าใจผิดว่าโรคกระเพาะอาหารอักเสบและลำไส้อักเสบคือโรคเดียวกัน แท้จริงแล้วแม้สาเหตุการเกิดโรคจะใกล้เคียงกัน แต่ก็มีความแตกต่างอยู่บ้าง โรคกระเพาะอาหารอักเสบเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยมากกว่าโรคลำไส้อักเสบ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่พบได้บ่อยมาจากเรื่องอาหารการกิน ทั้งสองโรคนี้ป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน โดยหันมาใส่ใจมากขึ้นกับการรับประทานอาหารในแต่มื้อ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารปิ้งย่าง หมักดอง ละเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ สุขอนามัยเบื้องต้นอย่างกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ก็ช่วยให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้เช่นกัน
อาหารและสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอักเสบ
การจะลดอาการของโรคกระเพาะนั้น ต้องเริ่มจากการปรับพฤติกรรมการกิน ลองมาดูกันค่ะว่า มีอาหารและสมุนไพรใกล้ตัวเราที่หาได้ง่าย ๆ ที่สามารถรักษาโรคกระเพาะได้บ้าง
กล้วยน้ำว้า
ในผลกล้วยนั้นมีน้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร เกลือแร่วิตามิน และเอนไซม์ต่าง ๆ มากมาย ทั้งยังช่วยเร่งสมานแผลในกระเพาะอาหารอีกด้วย
กระเทียม
มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อได้ดีเทียบเท่ายาเพนนิซิลิน สเต็ปโตไมซิน และอีริธโธไมซิน แถมยังใช้กับแบคทีเรียดื้อยาได้อีกด้วย ฉะนั้นการกินกระเทียมสดจะช่วยบรรเทาอาการกระเพาะอักเสบได้เป็นอย่างดี
ว่านหางจระเข้
สมุนไพรยอดฮิตที่หาได้ง่าย นอกจากจะมีสรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบแล้ว ยังมีสารไกลโคโปรตีนที่สามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะและอาการกรดไหลย้อนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ขมิ้นชัน
สมุนไพรไทยที่คนไทยรู้จักนำมาใช้ประโยชน์กันนานแล้ว นอกจากจะใช้ทำอาหารได้หลากหลายแล้วยังสามารถรักษาแผลในกระเพาะได้ดีอีกด้วย
ลูกยอมีฤทธิ์ขม
เนื่องจากสารในลูกยอจะช่วยเร่งการสมานแผลของกระเพาะอาหาร ทั้งยังช่วยลดการอักเสบเฉียบพลันของกระเพาะอาหารเนื่องจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์อีกด้วย
หัวปลี
ไม่ได้เป็นแค่สมุนไพรบำรุงน้ำนมของแม่ลูกอ่อนเท่านั้น แต่ยางจากหัวปลียังมีฤทธิ์ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารให้เราได้ด้วย โดยวิธีใช้ให้นำปลีกล้วยน้ำว้ามาเผา แล้วบีบเอาแต่น้ำ กะให้ได้ประมาณครึ่งแก้ว ดื่มก่อนอาหาร รสชาติอาจจะกินยากหน่อยแต่โบราณบอกว่า ถ้ากินติดต่อกันได้ 3 วันอาการของโรคกระเพาะอาหารอาจหายขาด