ศัลยกรรมตกแต่งปากแหว่ง ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก สามารถรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่ได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคเป็นโรคที่พบได้ตั้งแต่เด็ก ซึ่งเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ในครรภ์หรือหลังคลอด ซึ่งส่งผลเสียโดยตรงต่อลักษณะทางกายภาพ การรับประทานอาหาร การกลืน การได้ยิน และสุขภาพในช่องปาก ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองรู้สึกกังวลใจเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นทางเลือกที่สามารถตอนโจทย์ให้กับผู้ที่กำลังประสบปัญหาของโรคนี้ ได้เป็นอย่างดี
ลักษณะของปากแหว่งเป็นอย่างไร
ลักษณะของปากแหว่งทารกสามารถเกิดมาพร้อมกับ ลักษณะปากแหว่งหรือเพดานโหว่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันได้ โดยสามารถพบได้ 3 รูปแบบดังนี้
- รอยแหว่งที่บริเวณริมฝีปากบนและรูที่เพดานปากส่งผลให้มีความผิดปกติ ในลักษณะทางกายภาพของใบหน้าเปลี่ยนไปข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
- รอยแหว่งเล็ก ๆที่เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณริมฝีปากบนเท่านั้นหรือ อาจยาวไปถึงเหงือกบนเพดานปาก รวมไปถึงบริเวณใต้จมูกซึ่งผลซึ่งส่งผล เสียงมีทางลักษณะทางกายภาพของใบหน้าที่เปลี่ยนแปลงไป
- รอยโหว่เฉพาะที่เพดานอ่อนในปาก ไม่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของใบหน้าแต่อย่างใด
สาเหตุของปากแหว่งเพดานโหว่
โรคปากแหว่งเพดานโหว่สามารถพบได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ของมารดาในช่วงเดือนที่ 2 และเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ได้เกิดจากความผิดปกติในการสร้างอวัยวะได้แก่ปากและเพดานปาก ซึ่งในปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริงได้ อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- ปัจจัยทางพันธุกรรม เป็นการสืบทอดทางพันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดมาจากกรรมพันธุ์ ที่มีประวัติของการเกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่ของคนในครอบครัว
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่นการสูบบุหรี่หรือการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างการตั้งครรภ์
- เกิดจากโรคอ้วนในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการขาดกรดโฟลิกในระหว่างการตั้งครรภ์
- การสัมผัสไวรัสหรือสารเคมีในระหว่างการตั้งครรภ์
- การใช้ยาบางชนิดระหว่างการตั้งครรภ์เช่นยากันชัก สเตียรอย ยารักษาสิว เคมีบำบัดรวมไปถึงยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
การรักษาปากแหว่งเพดานโหว่
การรักษามีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับประทานอาหาร การพูด การได้ยิน รวมไปถึงลักษณะทางกายภาพให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ การรักษาสามารถทำได้ด้วยวิธีการผ่าตัด จะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง รูปแบบของการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและอาการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- การผ่าตัดอาการปากแหว่ง จะทำภายในช่วง 12 เดือนหลังคลอด แพทย์จะทำการเย็บเพื่อเชื่อมรอยแยกที่บริเวณริมฝีปากรวมถึงรอยแยกบริเวณใต้จมูกเข้าด้วยกัน
- การผ่าตัดอาการเพดานโหว่ จะทำเมื่อเด็กมีอายุ 18 เดือนหรือก่อนหน้านั้น แพทย์จะทำการเย็บเพื่อปิดรอยแยกที่บริเวณเพดานอ่อนหรือเพดานแข็งในปาก
- การผ่าตัดใส่ท่อในหู จะทำเมื่อเด็กมีอายุ 6 เดือน เป็นการผ่าตัดเพื่อระบายของเหลวในหูชั้นกลาง และลดความเสี่ยงของการเกิดการติดเชื้อที่จะนำไปสู่การสูญเสียการได้ยิน
- การผ่าตัดซ่อมแซมรอยแหว่งที่เหงือกโดยใช้กระดูก จะทำเมื่อเด็กมีอายุ 8-12 ปี
- การผ่าตัดเพื่อปรับปรุงลักษณะและการทำงานของริมฝีปากและเพดานปาก อาจมีการผ่าตัดในรูปแบบนี้ร่วมด้วยในกรณีที่การผ่าตัดอาการปากแหว่งหรือเพดานโหว่ ไม่สามารถทำให้ประสิทธิภาพในการพูดใช้งานได้เหมือนปกติ
- การผ่าตัดกรามหรือขากรรไกรล่าง ในผู้ป่วยที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่จะมีกรามหรือขากรรไกรล่างที่ผิดรูปไปจากปกติ
การดูแลหลังผ่าตัดที่พ่อแม่ควรปฏิบัติโดยเคร่งครัด
- งดให้เด็กดูดน้ำหรือนมหลังผ่าตัด จนกว่าแผลจะหายดี โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ระหว่างนี้แนะนำให้ใช้ช้อนหรือหลอดหยดแทน
- ดูแลทำความสะอาดแผลตามคำแนะนำของแพทย์
- มาพบแพทย์เพื่อตัดไหมแผลที่ริมฝีปากหลังผ่าประมาณ 1 สัปดาห์ พร้อมกับตรวจดูสภาพของแผลที่เพดานปากด้วย โดยปกติแผลที่เพดานปากจะเย็บด้วยไหมละลายจึงไม่ต้องตัดไหม
- ในช่วง 1 สัปดาห์แรก หากมีเลือดออกที่แผลผ่าตัด โดยเฉพาะแผลผ่าตัดเพดานโหว่ แนะนำให้รีบกลับมาพบแพทย์ เพื่อทำการแก้ไข
การป้องกันปากแหว่งเพดานโหว่
โรคนี้ป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา อาจไม่มีการป้องกัน แต่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในบุตรคนต่อไป โดยสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้
1 เข้ารับการปรึกษาด้านพันธุกรรม หากพบว่าเคยมีประวัติโรคปากแหว่งเพดานโหว่เกิดขึ้นกับคนในครอบครัวแล้ว ให้ปรึกษาแพทย์และวางแผนการตั้งครรภ์เพื่อตรวจสอบความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
- รับประทานวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อการตั้งครรภ์ เช่น กรดโฟลิค ธาตุเหล็ก ไอโอดีน แคลเซียม วิตามินดี วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 12 ไนอาซิน หรือสังกะสี เพื่อให้มารดาที่ตั้งครรภ์ได้รับสารอาหารและวิตามินที่ครบถ้วน ทั้งนี้ควร
- ปรึกษาแพทย์เรื่องขนาดและปริมาณของวิตามินและแร่ธาตุที่ควรได้รับ
- งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดข้อบกพร่องต่อบุตรในครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนของปากแหว่งเพดานโหว่
ปากแหว่งเพดานโหว่สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาการปากแหว่งหรือเพดานโหว่ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ปัญหาในการรับประทานอาหาร รวมถึงการดูดนมแม่ ในเด็กที่มีอาการเพดานโหว่ไม่สามารถดูดนมแม่ได้ตามปกติ เนื่องจากมีรูโหว่ที่เพดานปาก และในเด็กที่มีอาการปากแหว่งก็ไม่สามารถดูดนมแม่ได้ตามปกติเช่นกัน เพราะไม่สามารถปิดปากได้สนิท อาจทำให้อาหารและของเหลวขึ้นจมูก แต่ในปัจจุบันมีการออกแบบจุกนมหรือเพดานเทียมสำเร็จรูปสำหรับเด็กที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ทำให้สามารถดูดนมหรือรับประทานอาหารได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป จนกว่าจะถึงเวลาเข้ารับการผ่าตัด
- การติดเชื้อที่หูและปัญหาการได้ยิน เด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่หูชั้นกลางหรือหูน้ำหนวกได้มากกว่า และถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลต่อการได้ยิน หรือสูญเสียการได้ยินได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดใส่ท่อที่บริเวณแก้วหูเพื่อระบายของเหลว อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังในผู้ป่วยบางราย และเด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ควรเข้ารับการตรวจการได้ยินเป็นประจำทุกปี
- ปัญหาทางการพูด ปากและเพดานเป็นส่วนสำคัญในการออกเสียงที่ถูกต้องและชัดเจน เด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่แล้วไม่ได้รับการผ่าตัด จะทำให้เด็กพูดไม่ชัด มีเสียงขึ้นจมูกได้ และฟังยาก การผ่าตัดสามารถช่วยแก้ไขให้ปัญหานี้ในผู้ป่วยบางราย แต่บางรายอาจต้องเข้ารับการรักษาต่อด้วยวิธีอรรถบำบัด เพื่อพัฒนาการพูดและการออกเสียง