ศัลยกรรมตกแต่ง เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ทำให้สาว ๆ ความสนใจเป็นอย่างมาก เป็นทางเลือกที่จะทำให้ผู้ที่มีปัญหา แผลเป็น สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการศัลยกรรมตกแต่งแผลเป็น ทำให้สาว ๆเกิดความมั่นใจในการพบปะผู้คนมากยิ่งขึ้น เพราะการมีแผลเป็นอยู่บนใบหน้า หรือตามบริเวณต่างของร่างกาย ทำให้ วิตกกังวลใจในการใช้ชีวิตประจำวัน หากได้รับการรักษา ก็จะทำให้ มีความมั่นใจที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นการตอบโจทย์ให้กับหนุ่ม ๆ สาว ๆ ได้เป็นอย่างดี
แผลเป็น เกิดจากสาเหตุใด
แผลเป็นเกิดขึ้นจากกระบวนการหนึ่งของการรักษาแผลที่ร่างกายสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผลจากอุบัติเหตุ แผลผ่าตัด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก จะตามมาด้วยการผลิตโปรตีนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าคอลลาเจนเพื่อช่วยสร้างเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายขึ้นใหม่ ทำให้บาดแผลหายเป็นปกติในที่สุด จนเมื่อเวลาผ่านไปสัก 3 เดือน คอลลาเจนใหม่ก็ยังถูกผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเลือดก็มาเลี้ยงมากขึ้นจนแผลนูนเป็นก้อนแข็งและแดง หากคอลลาเจนเหล่านี้หยุดสร้าง และเลือดที่มาเลี้ยงลดลง แผลเป็นจะค่อย ๆ เรียบ นุ่มลง และจางไปในที่สุดทั้งนี้การเกิดแผลเป็นในแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมจึงมีโอกาสเกิดแผลเป็นมากกว่า โดยบริเวณที่เสี่ยงเกิดแผลเป็นได้ง่ายคือหน้าอก หลัง ติ่งหู และไหล่ และหากเป็นบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เช่น หัวเข่าและไหล่ ก็ยิ่งทำให้แผลเป็นขยายออกกว้างขึ้นได้ง่าย
แผลเป็น มีกี่แบบ
แผลเป็นมีหลากหลายรูปแบบโดยแบ่งออกได้ 3 ลักษณะดังนี้
- แผลเป็นที่ตัวนูน แบ่งออกได้ 2 แบบคือ
- แผลเป็นนูนเกินเป็นแผลที่นูนแต่ไม่เกินขอบเขตของแผลเดิมโดยระยะแรกจะมีลักษณะเป็น รอยนูนขึ้นแดงและมีอาการคัน
- แผลเป็นคีลอยด์เป็นแผลเป็นที่ขยายใหญ่เกินแผลเดิมเป็นอย่างมาก
- แผลเป็นที่ลึกบุ๋มมีลักษณะเป็นร่องหรือรูบุ๋มลึกลงไปใต้ผิวหนัง
- แผลเป็นที่มีการหดรั้งร่วมด้วยแต่ชนิดนี้จะดึงรั้งอวัยวะบริเวณแผลให้ผิดรูปได้
ป้องกันการเกิดแผลเป็นได้อย่างไร
- การดูแลรักษาแผลให้ดี ถือเป็นการป้องกันการเกิดแผลเป็นได้ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นแผลจากสาเหตุใดก็ตาม การการดูแลรักษาแผลเป็นอย่างดี จะช่วยให้แผลของคุณ ไม่เกิดรอยแผลเป็นขึ้นได้
- ในขั้นตอนแรกของการทำแผล ควรใช้น้ำเย็นล้างทำความสะอาดเสียก่อน แล้วเช็ดบริเวณรอบ ๆแผลด้วยสบู่หรือผ้าที่สะอาด ส่วนสบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรง ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ไอโอดีนหรือแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อนั้น ไม่ควรนำมาใช้บ่อยเพราะอาจทำให้แผลเกิดการระคายเคืองและทำให้แผลหายช้าได้
- หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ควรใช้ผ้าปิดแผล เพื่อป้องกันเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แผลได้เป็นอย่างดี ทำให้แผลหายได้เร็ว และลดโอกาสของการเกิดแผลเป็นได้เป็นอย่างดี
ปัจจัยที่ส่งผลให้การเกิดแผลเป็น
- พันธุกรรม
พบว่าแผลเป็นชนิดคีลอยด์เกี่ยวข้องกับเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และครอบครัว โดยมีการถ่ายทอดผ่านยีนเด่น (Autosomal dominant) ส่วนแผลเป็นธรรมดาไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
- ผิวหนังที่ตึง
การผ่าตัด หรือได้รับบาดเจ็บ ในบริเวณที่ผิวหนังตึงมากจะเกิดแผลเป็นได้สูงกว่าบริเวณที่ผิวหนังหย่อน เพราะมีการสร้างสารสมานแผลมากกว่า เช่น ผ่าตัดเป็นเส้นตรงบริเวณหน้าท้อง จะมีโอกาสเป็นแผลเป็นมากกว่าผ่าตัดในลักษณะขวางบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง เป็นต้น
- บริเวณที่เคลื่อนไหว
แผลเป็นมักเกิดขึ้นบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ดังนั้นการใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ที่กดแผลหลังผ่าตัดจะช่วยลดการเกิดแผลเป็น เช่น การใช้ผ้ายืดรัด ใช้พลาสเตอร์พิเศษติดแผล ใช้ซิลิโคนติดแผลเชื่อว่าเพราะอุปกรณ์ดังกล่าวกดการสร้างเส้นเลือดใหม่ ๆ จึงช่วยลดการสร้างสารสมานแผลได้
- ผิวแห้ง
เชื่อว่าผิวที่ชุ่มชื้นยืดหยุ่นจะช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นได้
- เป็นกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติในการสร้างสารสมานแผล
แม้มีแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น กลุ่มอาการรูบินสไตน์ (Rubinstein-Taybi syndrome)
วิธีรักษาแผลเป็นให้จางลง
วิธีรักษาแผลเป็นขึ้นอยู่กับลักษณะประเภทและอายุของแผลเป็น มีหลายวิธีคือ
- การใช้เจลหรือแผ่นซิลิโคนลดแผลเป็น เป็นอีกวิธีที่สามารถทำได้ง่าย และหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเพียงแค่คนบางชนิดนี้ลงบนแผลเป็นเวลาวันละ 12 ชั่วโมงติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือนเพื่อช่วยลดอาการแดงของแผลเป็น และลดขนาดของคีลอยด์หรือแผลเป็นชนิดนูน ที่จะไม่ให้ขยายใหญ่ให้เล็กลงได้
- การใช้แผ่นผ้าแปะกดแผลเป็นที่เกิดจากการไฟไหม้ขนาดใหญ่ ดูจากการปลูกถ่ายผิวหนังอาจทำให้ผิวเรียบหรือนุ่มลงได้ด้วยกันใช้แผนภาพแบบกด ตลอดทั้งวันประมาณ 6 ถึง 12 เดือน การใช้แผ่นแปะกดสามารถรักษาแผลเป็น ที่เป็นมานานให้จางลงได้ ควบคู่ กับการใช้เจลหรือแผ่นซิลิโคน
- การฉีด คอร์ติโคสเตียรอยด์ เหมาะสำหรับแผลเป็นประเภทคีลอยด์และแผลเป็นนูนที่ไม่ขยายใหญ่ สามารถทำให้จางหรือยุบลงด้วยการฉีดสเตียรอยด์ในปริมาณเข็มเล็ก ๆลงไปที่แผลเป็นหลายหลายครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของแผลและต้องมีการฉีดซ้ำ โดยเว้นระยะห่างประมาณ 4-6 สัปดาห์เพื่อประเมินการตอบสนองของร่างกายหากแผลเป็นมีลักษณะที่ดีขึ้นอาจรักษาด้วยวิธี ต่อไปอีกเรื่อย ๆ
- การฉีดฟิลเลอร์ (Dermal fillers) เป็นการรักษาแผลเป็นหลุมสิวด้วยการฉีดสารเติมเต็มเข้าไป แต่อาจมีราคาแพงและได้ผลเพียงชั่วคราว ทำให้ต้องฉีดซ้ำบ่อยครั้ง
- Skin needling เป็นการใช้เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยเข็มขนาดเล็กจำนวนมาก ใช้กดลงกับผิวหนังเพื่อรักษารอยแผลเป็น รอยหลุมสิวและฝ้า นับเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยได้ เพียงแต่ต้องทำบ่อยครั้งหากต้องการให้เห็นผลชัดเจน
- การผ่าตัดแผลเป็น วิธีการรักษาที่อาจช่วยเปลี่ยนลักษณะของแผลเป็น เปลี่ยนตำแหน่ง รูปร่าง ความกว้าง รวมถึงทำให้แผลที่บริเวณข้อต่อหายตึงและการเคลื่อนไหวดีขึ้นได้ แต่วิธีนี้มีข้อระวังคืออาจมีผลข้างเคียงให้เกิดแผลเป็นจากแผลผ่าตัดมาเพิ่ม และหากใช้วิธีนี้กับแผลเป็นนูน ก็ยิ่งเสี่ยงที่แผลจะกลับแย่ลงกว่าเดิม