วัคซีนโควิดยี่ห้อไหนดี?

ในปัจจุบันมีโรคระบาดที่คนไทยทั้งประเทศเกิดการหวาดกลัว และระแวงทุกครั้งที่ออกจากบ้าน นั้นก็คือโรคระบาดของการติดเชื่อโควิด 19 ซึ่งในปัจจุบันในประเทศไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ทำให้หลายจังหวัดในประเทศไทยมีการล็อกดาวน์กันเกิดขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสตัวนี้ และทางการก็มีมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันนั่นก็คือการฉีดวัคซีนป้องกัน และเราจะฉีดวัคซีนโควิดยี่ห้อไหนดี วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลวัคซีนแต่ละยี่ห้อมาให้แล้วทั้ง ที่มาบริษัทผู้ผลิต ผลการทดลอง พร้อมทั้งสรุปผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น พูดแล้วก็อยากรู้แล้วล่ะสิ แต่ต้องไปตรวจโควิด fit to fly เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาทำความรู้จักกับวัคซีนโควิดกันเลยค่ะ

วัคซีนโควิดยี่ห้อไหนดี?

6 อันดับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

1. วัคซีน Sinovac

สำหรับตัวแรกเป็นวัคซีนที่คนไทยทุกคนกำลังได้รับอยู่ตอนนี้ นั่นก็คือวัคซีน Sinovac หรือ ซิโนแวค เป็นวัคซีนฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่ถูกคิดค้นโดยบริษัท Sinovac ผู้พัฒนาจากประเทศจีน และที่สำคัญไทยสั่งวัคซีนตัวนี้มาใช้! แม้ว่าผลการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนในเฟส 3 จะยังไม่แน่ชัด บ้างก็บอกเล่าว่าวัคซีนจากแดนมังกรนี้ “มีประสิทธิภาพมากกว่า 50%” บ้างก็บอกว่า “มีประสิทธิภาพ 79%” ขณะที่ประเทศไทยจะได้รับวัคซีน Sinovac ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนนี้

ส่วนผลข้างเคียงของวัคซีนตัวนี้หากฉีดเข้าไปแล้วจะมีอาการปวด บวมแดง หรือรู้สึกคันบริเวณผิวหนังที่ได้รับวัคซีน ตามด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เป็นไข้ ท้องเสีย หายใจลำบาก

2. วัคซีน AstraZeneca หรือ AZD1222

วัคซีน AstraZeneca (แอสตราเซนเนกา) เป็นวัคซีนอีกตัวหนึ่งที่ประเทศไทยได้สั่งวัคซีนตัวนี้มาใช้ เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ 62-90% ขึ้นกับปริมาณการฉีด โดยฉีด 2 โดสห่างกัน 28 วัน เป็นวัคซีนที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดจากอังกฤษและบริษัทแอสตราเซนเนก้า (ชื่อเดียวกับวัคซีนเป๊ะ) ขณะเดียวกันไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสูตรนี้ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนผลิตและทยอยส่งมอบล็อตแรกภายในปลายเดือนพฤษภาคมนี้

3. วัคซีน Pfizer-BioNTech

วัคซีน Pfizer-BioNTech เป็นวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน และเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 95% โดยได้รับการการันตีจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ผลิตจากเทคโนโลยีรูปแบบใหม่เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ที่นำบางส่วนของพันธุกรรมไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกาย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นมาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อในมนุษย์เรา ผลิตโดยบริษัทไฟเซอร์จากสหรัฐอเมริกา ร่วมกับบริษัทไบออนเทคจากเยอรมัน ซึ่งมียอดสั่งกว่า 40 ล้านโดสในจีน ญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรปด้วยนะ

กี่ฉีดวัคซีน Pfizer-BioNTech เข้ากล้าเนื้อจะต้องฉีดเข้ากล้าเนื้อ 2 โดส และจะต้องฉีดห่างกันประมาณ 21 วัน แต่การฉีดวัคซีน Pfizer-BioNTech ก็ยังมีผลข้างเคียงอยู่นะ คือ กล้ามเนื้อบวม รู้สึกเมื่อยบริเวณที่ฉีดวัคซีน รู้สึกง่วง รวมทั้งมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามร่างกาย เช่น ไข้ขึ้น รู้สึกเหนื่อย รู้สึกหนาว ปวดศีรษะ หรือเกิดอาการผื่นแพ้ตามร่างกาย คลื่นไส้ อยากอาเจียน เวียนหัว หากแพ้รุนแรงอาจจะทำให้หมดสติได้

4. วัคซีน Moderna หรือ mRNA-1273

วัคซีน Moderna หรือ mRNA-1273 เป็นวัคซีนอีกหนึ่งตัวที่สามารถต้านโควิดได้ และเป็นวัคซีนที่ผลิตจากบริษัทโมเดอร์นา อิงค์ จากสหรัฐอเมริกา ฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน เป็นวัคซีนที่ผลิตจาก mRNA เช่นเดียวกัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเหมือนกัน ซึ่งเป็นวัคซีนขึ้นทะเบียนได้รับการอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) หลังจากเฟสแรกทดลองฉีดกับลิง และเฟส 3 ทดลองกับอาสาสมัคร 30,000 รายไปแล้ว พบว่าวัคซีน Moderna มีประสิทธิภาพของวัคซีน 94.5% รวมทั้งส่งผลข้างเคียงคล้ายกับวัคซีน Pfizer-BioNTech อีกด้วย เช่น หลังฉีดจะรู้สึกปวดบริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับวัคซีน บวม มีรอยแดง รู้สึกหนาว อ่อนเพลีย หายใจถี่ ปวดศีรษะ รวมทั้งมีอาการแพ้รูปแบบเดียวกัน

5. วัคซีน Covaxin

วัคซีน Covaxin เป็นวัคซีนอีกหนึ่งตัวของประเทศอินเดีย ที่ผลิตจากบริษัท  Bharat Biotech และผ่านการอนุมัติโดยสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งอินเดีย (ICMR) ซึ่งผ่านการฉีดทดลองเบื้องต้นกับลิงและหนูแฮมเตอร์ !! และผลการทดลองเฟส 3 ยังไม่รู้ผลเลยด้วยซ้ำ  ยิ่งทำให้วัคซีนยี่ห้อนี้กำลังตกเป็นเป้าดราม่าชามโตว่า ผลการทดลองขั้นสุดท้ายจะสรุปได้ในเดือนมีนาคม ทำไมรีบนำมาใช้ทั้งที่ยังไม่รู้ผลของประสิทธิภาพวัคซีนด้วยซ้ำ แต่จะว่าไปแล้ว Covaxin ชื่อช่างละม้ายคล้ายกับโควิด-19 รวมกับคำว่าวัคซีนเหลือเกิน

6. วัคซีน Johnson & Johnson

วัคซีน Johnson & Johnson เป็นวัคซีนอีกหนึ่งตัวที่บริษัท Johnson & Johnson ได้ทำการผลิตทดลองวัคซีนโควิด 19 ประกาศผลการทดลองพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยในเคสป่วยปานกลางและป่วยหนักที่ 66% แต่ประสิทธิภาพสูงสุดที่ 85% ในกรณีเคสป่วยหนัก ด้วยการฉีดเพียง 1 เข็ม เท่านั้น

การฉีดวัคซีนของ Johnson & Johnson มีข้อดีก็คือ สามารถฉีดเพียงแค่เข็มเดียว และการเก็บรักษาวัคซีนสามารถเก็บในตู้เย็นธรรมดาได้ ต่างจากวัคซีนประเภท mRNA ที่ต้องเก็บในอุณหภูมิเย็นจัดซึ่งอาจทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับประเทศที่ไม่มีระบบ cold chain ที่ดีพอ

ที่สำคัญการใช้วัคซีนตัวนี้ผ่านการทดลองด้านความปลอดภัย ทางบริษัทจะยื่นขออนุมัติการใช้งานฉุกเฉินกับทางองค์การอาหารและยาสหรัฐ และจะเริ่มดำเนินการยื่นขอใช้งานวัคซีนภายในประเทศอื่น ๆ ต่อไป

ประเทศไทยได้นำเข้าวัคซีนตัวไหนบ้าง

สำหรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ที่ประเทศไทยได้นำเข้ามาเป็นอันดับแรกเลยก็คือวัคซีน SinoVac จากจีน และ AstraZeneca ที่มีแผนผลิตเองในไทย และภายในไตรมาสที่ 3 อนุญาตให้นำราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำวัคซีน Sinopharm เข้ามา ซึ่งเปิดให้ผู้ที่สนใจได้ลงทะเบียนไปแล้ว ส่วนวัคซีนทางเลือกอย่าง Pfizer-BioNTech, Moderna, Johnson & Johnson, Sputnik V ได้เจรจาเตรียมนำเข้ามาในไตรมาสที่ 4 เพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย 70 ล้านโดสในปีนี้ให้ได้

ทั้งหมดนี้ก็เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิดที่เรานำมาฝาก หากคุณต้องการฉีดวัคซีนก็ทำการลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนได้เลย แต่จะเป็นวัคซีนตัวไหนนั้น เราไม่อาจจะรู้ได้ ดังนั้นลงทะเบียนไว้ก่อน จะเป็นวัคซีนตัวไหนก็ฉีดไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

Written by

ExcessiveSweating.in.th

ตัดหนังส่วนเกิน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ศัลยกรรมตัดหนังส่วนเกิน ช่วยให้ลดความอ้วน เป็นเรื่องง่ายขึ้น