โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastiritis) คือ การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารจากกรดภายในกระเพาะอาหารซึ่งเกิดจากการหลั่งกรดที่มากขึ้น การกินยาเคลือบกระเพาะ หรือยาแก้โรคกระเพาะอาหารยี่ห้อไหนดี จึงเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้
หากท่านมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ อาการปวดมักสัมพันธ์กับมื้ออาหาร โดยอาจจะเป็นก่อนหรือหลังการรับประทานอาหาร บางรายอาจมีคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยก็เป็นได้ นั่นคืออาการเริ่มต้นของการเป็นโรคกระเพาะอาหาร
แนะนำบทความยอดนิยม Miradry จากเว็บไซต์ Rattinan.com
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นการอักเสบของเยื่อบุด้านในกระเพาะอาหารเพียงส่วน เท่านั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง เป็นอาการที่เป็นมานานเป็นเดือนหรือเป็นปี ผู้ป่วยมักมีอาการไม่มากหรือแทบไม่มีอาการอะไรเลย นอกจากแน่นท้องเป็น ๆ หาย ๆ เท่านั้น
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเฉียบพลัน เป็นโรคที่เป็นในระยะสั้น ๆ ไม่เกิน1 – 2 สัปดาห์ก็หาย จะมีอาการปวดท้องหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ มักเป็นเวลากินอาหาร หรือหลังอาหารเล็กน้อย คลื่นไส้ อาเจียน ในรายที่รุนแรง จะมีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระสีดำได้
โรคกระเพาะอาหารเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
- เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารคือเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) โดยที่สาเหตุนี้จะก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง และต้องรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ
- ความเครียด โดยที่ความเครียดจะไปกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบแบบเฉียบพลัน
- เกิดจากการรับประทานกลุ่มยาแก้ปวดลดอักเสบทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร และเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
อาการของโรคกระเพาะอาหาร
- มีอาการปวดที่มักเป็น ๆ หาย ๆ เช่น ปวดอยู่1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก
- มีอาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด
- มีอาการจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ เป็นอาการที่มักพบได้ในเวลาที่หิวหรือท้องว่าง
- ถึงแม้ว่าจะมีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม
- โรคแผลกระเพาะอาหารจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็นๆ หายๆ อยู่นานกี่ปีก็ตาม
- มีอาการปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว
ภาวะแทรกซ้อนที่มากับโรคกระเพาะ
- เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะพบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำเหลว หรือหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม
- กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมาก
- กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะกินได้น้อย อิ่มเร็ว มีอาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง
หลักการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคกระเพาะ
ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อน ใน 3 – 7 วัน แต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ใช้เวลาถึง 4 – 8 สัปดาห์ แผลจึงหาย เมื่อหายแล้ว จะกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ดูแลตัวเองให้ถูกต้อง ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- ควรรับประทานอาหารอ่อน ที่ย่อยง่าย
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด และควรงดดื่มแอลกอฮอล์
- แนะนำให้รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่ทานให้บ่อยมื้อ และไม่ควรรับประทานให้อิ่มมากเกินไป
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หาเวลาผ่อนคลายเพื่อบรรเทาความเครียด ความกังวล
- ควรงดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาที่เกี่ยวกับโรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด
- ควรงดสูบบุหรี่
- รับประทานยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย4 – 8 สัปดาห์
- หากมีอาการของภาวะแทรกซ้อน ต้องรีบไปพบแพทย์
การรักษากระเพาะอาหารอักเสบ คือ รักษาอาการปวดแน่นท้อง และการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดซ้ำและการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์อาจให้ยาหลายกลุ่มร่วมกัน เพื่อให้การรักษาบรรลุเป้าหมายสูงสุด และการรักษาจะใช้เวลาอย่างน้อย 4 – 8 สัปดาห์
ยาเคลือบกระเพาะ หรือยาแก้โรคกระเพาะอาหารยี่ห้อไหนดี สามารถแบ่งเป็นกลุ่มหลักได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
- ยายับยั้งการหลั่งกรด (Antisecretory Drugs) ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธิ์ ดังนี้
- ยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปัมพ์ (Proton pump inhibitors) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้การผลิตกรดดำเนินต่อไปไม่ได้ ตัวอย่างยาที่มักใช้กันได้แก่Omeprazole, Lanzoprazole, Pantoprazole, Rabeprazole และ Esomeprazole ยาในกลุ่มนี้ทุกตัว มีประสิทธิภาพในการลดกรดใกล้เคียงกัน
- ยากลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสทามีนชนิดที่ 2 (H2-receptor antagonist) ยาจะออกฤทธิ์โดยจับกับตัวรับ (H2 receptor) ของเซลล์บริเวณกระเพาะอาหาร ส่งผลให้มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ ไซเมททิดีน (Cimetidine) รานิทิดีน (Ranitidine) และฟาโมทิดีน (Famotidine) ยาทุกตัว มีประสิทธิภาพที่เท่าเทียมกัน
- ยาลดกรด (Antacids) ยารักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง ใช้หลักการของการนำด่างมาปรับให้ความเป็นกรดในกระเพาะอาหารลดลง โดยมีตัวยาหลัก 2 ชนิด คือ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminium Hydroxide) และ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Magnesium Hydroxide) ยากลุ่มนี้มีทั้งรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน ยาเม็ดแบบเคี้ยว หรือยาเม็ดแบบกลืน หาได้ง่ายตามร้านยาทั่วไปและมีราคาถูก สามารถบรรเทาอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว
- ยาเพิ่มความต้านทานของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ยารักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบกลุ่มนี้ได้แก่ซูคราลเฟท (Sucralfate) ออกฤทธิ์เป็นเมือกปกคลุมแผลในกระเพาะอาหาร และออกฤทธิ์ได้ยาวนานมากกว่า 6 ชั่วโมง
บทสรุป
ยาแก้โรคกระเพาะอาหารยี่ห้อไหนดี เมื่อเป็นโรคกระเพาะอาหารแล้วท่านต้องหายารับประทานเพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาให้หาย เพราะโรคนี้เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการปวดท้องแบบเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญ ดังนั้นการปฏิบัติตัวให้ดีก่อนที่จะเป็นโรคจึงถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่เมื่อเป็นแล้วก็คงต้องดูแลและรักษาให้หายนั่นเอง