อาการปวดท้อง สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งบริเวณที่เกิดอาการสามารถบ่งบอกสาเหตุของโรคได้ชัดเจนขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเกิดจากโรคมะเร็ง โรคไต โรคปอด ลำไส้อักเสบ ท้องผูก เป็นต้น ซึ่งปกติแล้วอาการปวดท้องจะแบ่งออกเป็น 2 ข้าง คือ ปวดท้องข้างขวา และปวดท้องข้างซ้าย ซึ่งกระเพาะอยู่ข้างไหน วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าหากปวดท้องด้านซ้ายของร่างกายจะบอกถึงปัญหาสุขภาพอะไรได้บ้าง
ปวดท้องด้านซ้ายบน
กระเพาะอาหาร ตับ ลำไส้ ม้าม ตับอ่อน และไตซ้าย อวัยวะสำคัญเหล่านี้จะอยู่บริเวณช่องท้องด้านซ้ายบน และยังใกล้กับหัวใจอีกด้วย ดังนั้นอาการปวดท้องด้านซ้ายบน หรืออาการปวดท้องด้านซ้ายใต้ซี่โครง อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้
- กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ
สาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียปะปนเข้าไปทำให้เกิดอาการปวดท้อง และอุจจาระร่วงแบบเฉียบพลัน นอกจากนี้ก็ยังมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรือเกิดภาวะขาดน้ำร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้จะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะร่วมกับการใช้ยาเพื่อรักษาตามอาการ เช่น ยาช่วยย่อย ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
- แก๊สในกระเพาะอาหาร
อาหาร เช่น ถั่ว บล็อกโคลี หรือเครื่องดื่มที่มีการอัดแก๊ส และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก็อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้รู้สึกปวดท้องบริเวณด้านซ้ายบนทำให้รู้สึกจุกเสียดแน่นท้อง อึดอัดได้ ในกรณีนี้สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาลดกรด หรือยาขับลม
- ท้องผูก
ปัญหาท้องผูกอาจรู้สึกปวดท้องบริเวณด้านซ้ายบนได้ เนื่องจากอุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ไม่สามารถเคลื่อนตัวไปตามลำไส้ใหญ่ได้
- ลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome)
ลำไส้แปรปรวนเป็นอาการเรื้อรังที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของลำไส้ หรือเกิดจากการติดเชื้อบางชนิด ทำให้รู้สึกปวดท้องด้านซ้ายบน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียเรื้อรัง และมีอาการท้องผูกอยู่เป็นประจำ โดยโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่ก็สามารถควบคุมอาการได้ - อาการม้ามโต (Splenomegaly)
ม้ามโตเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส โรคลูคีเมีย และโรคตับแข็ง ซึ่งอาการที่เห็นได้ชัดคือ ม้ามจะขยายขนาดขึ้นและไปกดทับอวัยวะต่าง ๆ ทำให้รู้สึกปวดท้องด้านซ้าย - โรคหัวใจ
อาการปวดท้องด้านซ้ายบนเป็นหนึ่งในอาการเริ่มแรกของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ร่วมกับอาการ
อื่น ๆ ได้แก่ อาการปวดบริเวณลิ้นปี่ ปวดที่รอบสะดือ หรือบริเวณใต้ชายโครง และท้องน้อย - อาการปอดบวม (Pneumonia)
อาการปอดบวมที่เกิดจากการติดเชื้อ จะทำให้ปอดบวมและขยายตัวจนไปกดทับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงในซีกซ้ายของร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการปวดท้องด้านซ้ายบน อีกทั้งยังทำให้หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก มีไข้สูง มีอาการหนาวสั่น และอาการไออย่างรุนแรงร่วมด้วย
บทความแนะนำ กระชับจุดซ่อนเร้น By Rattinan.com
ปวดท้องด้านซ้ายล่าง
บริเวณภายในท้องด้านซ้ายล่างจะประกอบไปด้วยอวัยวะ ลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็ก และยังมีระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์อยู่ด้วย จึงทำให้อาการปวดท้องด้านซ้ายล่างเกิดได้จากทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย และระบบสืบพันธุ์ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย มีดังนี้
- การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และกรวยไตอักเสบ คือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการปวดท้องที่บริเวณด้านล่างข้างซ้าย ปัสสาวะติดขัด และรู้สึกปวดท้องน้อยขณะปัสสาวะ ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามไปจนถึงไต และกลายเป็นโรคไตได้ - เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้หญิง ซึ่งส่งผลให้ผู้หญิงปวดประจำเดือนมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณด้านซ้ายล่างของท้อง - ซีสต์ในรังไข่
ซีสต์ในรังไข่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รู้สึกปวดบริเวณท้องด้านซ้ายล่างได้เช่นกัน จะมีอาการปวดหน่วง ๆ ทำให้ปัสสาวะบ่อย และประจำเดือนผิดปกติ ซึ่งซีสต์ในรังไข่ไม่ใช่อาการที่อันตราย ไม่ทำให้กลายเป็นมะเร็งได้ - ไส้เลื่อน (Inguinal Hernia)
อาการไส้เลื่อนเป็นอาการที่เกิดจากการที่ลำไส้ไหลผ่านผนังช่องท้องไปกระจุกตัวอยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดได้กับทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยอาการไส้เลื่อนจะก่อให้เกิดอาการปวดท้องอย่าง
- โรคไต (Kidney Disorders)
อาการไตอักเสบจะมีอาการปวดท้องด้านซ้ายล่างแบบเฉียบพลัน มีความรู้สึกอยากปัสสาวะตลอดเวลา ปวดแสบปวดร้อนขณะปัสสาวะ หรือปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วย
บทความแนะนำ ตัดกระเพาะ จากเว็บไซต์ Rattinan.com
บทสรุป
กระเพาะอาหารอยู่ข้างไหน เมื่อเกิดอาการปวดท้องด้านซ้ายให้สันนิษฐานก่อนเลยว่าอาจเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ ซึ่งโรคกระเพาะอาหารอักเสบสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้ ดังนั้นเมื่อเกิดอาการจะต้องทำการรักษาและดูแลสุขภาพให้ดี โรคกระเพาะอาหารอักเสบสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้
บทความแนะนำ เนื้อล้นใต้รักแร้ จากเว็บไซต์ Rattinan.com