กระเพาะมีหน้าที่ผลิตน้ำย่อยออกมา เพื่อย่อยอาหารพวกโปรตีน โดยกระเพาะอาหารจะบีบรัดตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย 1.5 ลำไส้เล็ก เป็นทางเดินอาหารที่สำคัญที่สุดและมีความยาวที่สุด ลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ย่อยอาหารทุกประเภท และการย่อยแล้วจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด และนำไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
จริง ๆ แล้วกระเพาะก็มีหน้าที่รองรับอาหาร ที่เรากินเข้าไป หากเรากินเข้าไปมากกระเพาะจะมีการยืดหยุ่น ยืดตัว ทำให้เรากินได้มาก และหากใครที่กินเกินที่ร่างกายจะนำไปใช้ ก็จะกลายเป็นไขมันสะสมทำให้เกิดโรคอ้วนได้
โดยทางการแพทย์ที่รับการรักษาโรคาอ้วนได้กล่าวว่า กระเพาะของคนที่มีรูปร่างผอม กระเพาะจะอยู่ในลักษณะแนวตั้ง เวลาที่กินอะไรเข้าไป นิดหน่อยก็จะอิ่ม ส่วนคนอ้วน กระเพาะจะอยู่แนวนอน หรือแนวขวางทำให้มีความยืดหยุ่น กินเท่าไรก็ไม่รู้จักอิ่ม ก็ทำให้กลายเป็นโรคอ้วนได้
ปัจจุบันทางการแพทย์ จะใช้วิธีทางหัตถการ ในการลดความอ้วนกันนั่นก็คือการผ่าตัดกระเพาะ การเย็บกระเพาะ เป็นทางเลือกที่ช่วยลำน้ำหนัก ให้กับผู้ที่ลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
โดยทั่วไปการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมี 2 วิธีหลัก ๆ
วิธีแรก Laparoscopic Sleeve Gastrectomy คือ ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะให้เล็กลงอย่างเดียว วิธีนี้ขนาดกระเพาะจะคล้าย ๆ กับไส้กรอกยาว ๆ เรียกสั้น ๆ ว่า การผ่าตัดแบบ Sleeve
วิธีที่สอง Laparoscopic Gastric Bypass คือ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร และมีการทำทางเดินอาหารใหม่ด้วย ทำให้มีการดูดซึมอาหารลดลง วิธีนี้เรียกสั้น ๆ ว่า Bypass
ทั้ง 2 วิธีนี้ ทำให้ผู้ป่วยน้ำหนักลดลงได้ และโรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจดีขึ้น หรือในบางครั้งหายขาดได้
การเตรียมตัวก่อนการรักษา
ก่อนรับการผ่าตัดแพทย์จะวินิจฉัยว่า คุณสามารถลดความอ้วนด้วยวิธีนี้ได้หรือไม่ เพราะไม่ใช่ว่าคนอ้วนทุกคนที่ต้องการลดน้ำหนักจะสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ทุกคน วิธีนี้จะใช้กับ ผู้ที่ไม่สามารถลดความอ้วนด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหารได้
แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดโดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคนปกติ BMI จะอยู่ที่ 18.5-24.9 กก./ตร.ม. คนที่มี BMI มากกว่า 30 กก./ตร.ม. ขึ้นไปถือว่าเป็นคนอ้วนแต่ยังไม่ถือว่าเป็นโรคอ้วน ส่วนคนที่มีค่า BMI อยู่ที่ 35 กก./ตร.ม. ขึ้นไปถือเป็นคนอ้วนขั้นรุนแรงและ BMI ที่ 40 กก./ตร.ม. ขึ้นไปถือเป็นโรคอ้วน ซึ่งคนที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 35 ขึ้นไปคือคนที่สมควรเข้ารับการผ่าตัด
การผ่าตัดกระเพาะอาจใช้เวลาพักฟื้น ประมาณ 1 คืนเพื่อดูอาการ หลังจากนั้นแพทย์ก็จะให้กลับบ้านได้ ก่อนจะทำผ่าตัด คุณต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการสอบถามประวัติการรักษา โรคประจำตัวของเรา การใช้ยารักษาโรค อาหารเสริม ต้องมีการปรึกษาพูดคุย เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในเรื่องของการปรับพฤติกรรมการกิน โดยจะมีนักโภชนมาใช้คำปรึกษา พร้อมทั้งนักจิตวิทยา มาให้ความพร้อมก่อนการเข้าการรักษา เพื่อลดความเครียดก่อนการผ่าตัด และคุณต้องเตรียมตัวให้พร้อม งดการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ อย่างน้อยก็ 2 อาทิตย์ก่อนการเข้ารับการรักษา
แพทย์จะไม่แนะนำให้ทำ หากมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น การไหลเวียนของโลหิต โรคหัวใจ
หรือโรคที่แพทย์วินิจฉัยว่าจะเกิดอันตราย ก็จะไม่รับทำให้
วิธีการเลือกคลินิก หรือโรงพยาบาลก่อนการรักษา
การเลือกคลินิกสถานบริการที่ดี นั้นต้องดูองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างไม่ใช่เพียงเพราะราคาถูก
เพราะจริง ๆ การผ่าตัดกระเพาะราคา ก็หลักแสน ดังนั้นก่อนเข้ารับการรักษาควรศึกษาข้อมูล ผลลัพธ์หลังการทำจะเป็นอย่างไร ความน่าเชื่อถือของสถานที่คลินิกหรือโรงพยาบาลควรดูความน่าเชื่อถือของสถานที่นั้น ๆ โดยสามารถดูจากหลาย ๆ อย่างเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ เช่น มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในด้านการผ่าตัดกระเพาะมาแล้ว สามารถทำได้อย่างชำนาญ บุคลากรได้รับการอบรมฝึกฝนมาอย่างดี มีความเข้าใจ ในการให้บริการ
คลินิกเปิดให้บริการมานานหรือไม่ มีการต้อนรับและให้คำปรึกษาได้เป็นอย่างดี
ทำเลที่ตั้งอยู่ในแหล่งการค้า รวมไปถึง ต้องมีรีวิวจากผู้ทำ จริงให้เห็น ทั้งก่อนทำและหลังทำ ซึ่งก็ถือว่าเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่กำลังศึกษาข้อมูลใช้เป็นข้อมูลในการช่วยตัดสินใจ
ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากด้านนี้โดยตรงและจะต้องได้รับการรับรองจาก
สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทยผ่านการฝึกอบรมตามมาตรฐานสากล เราสามารถตรวจสอบได้ และมีทีมแพทย์ฉุกเฉินไว้รองรับหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น